การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มา Product development for Trichoderma mixed with pelleted organic fertilizer

Main Article Content

พลฤทธิ์ ทองคลี่

Abstract

งานนวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเข้มข้นของสปอร์เชื้อรา Trichoderma harzianum และความเข้มข้นของกากน้ำตาล ที่เหมาะสมต่อการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ที่ผสมเชื้อรา T. harzianum ศึกษาจากปัจจัย ที่เกี่ยวข้องจำนวน 2 ปัจจัย ซึ่งวางแผนการ ทดลองด้วยวิธีการสุ่มแบบสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) จำนวน 20 ตำรับ การทดลอง 3 ซ้ำ โดยศึกษาผลของความเข้มข้น สปอร์เชื้อรา T. harzianum และเปอร์เซ็นต์ ของสารละลายกากน้ำตาลต่ออัตราการมีชีวิตรอด ปริมาณสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา สมบัติ ทางกายภาพและทางเคมีของปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าที่ความเข้มข้นสปอร์ 6.25×107 ± 1.46 สปอร์ต่อมิลลิลิตร ผสม กับกากน้ำตาล 15% (ตำรับการทดลองที่ 9), 6.70×108 ± 1.26 สปอร์ต่อมิลลิลิตร ผสมกับ กากน้ำตาล 5%, 10% และ 15% (ตำรับ การทดลองที่ 12, 13 และ 14) และที่ความ เข้มข้นสปอร์ 1×109 ± 0.14 สปอร์ต่อมิลลิลิตร ผสมกับกากน้ำตาล 10% และ 15% (ตำรับการ ทดลองที่ 18 และ 19) มีอัตราการมีชีวิตรอดของเชื้อรา T. harzianum สูงที่สุด ในปุ๋ยอินทรีย์ อัดเม็ดตำรับการทดลองที่ 18, 13, 19 และ 14 มีปริมาณสปอร์ที่นับได้เท่ากับ 4.25x108 ± 0.39, 3.23x108 ± 0.45, 2.42x108 ± 0.52 และ 1.90x108 ± 0.13 สปอร์ต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า กากน้ำตาลเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับเชื้อรา T. harzianum ดังนั้นตำรับการ ทดลองที่ใช้สารละลายสปอร์ที่ความเข้มข้น 6.70x108 สปอร์ต่อมิลลิลิตร ร่วมกับกากน้ำตาล ความเข้มข้น 10% และตำรับการทดลองที่ใช้ สารละลายสปอร์ที่ความเข้มข้น 1x109 สปอร์ ต่อมิลลิลิตร ร่วมกับกากน้ำตาลความเข้มข้น 10% จึงเหมาะสำหรับน้ำไปผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดผสม เชื้อรา T. harzianum เมื่อพิจารณาจากอัตรา การมีชีวิตรอด และค่าจากการนับปริมาณสปอร์


The aim of this research was studied the concentration of spores of Trichoderma harzianum and molasses concentration that suitable for the production organic fertilizer pellets mixed with T. harzianum  this studied involved two factors. The experiment was set up as a completely randomized design (CRD) with 20 treatments. The effect of spore concentration of T. harzianum and percent of molasses solutions on survival rate, spore counting, physical and chemical properties of the pelleted organic fertilizer were studied. The results show that spore concentration at 6.25×107 ± 1.46 spores/ml mixed with 15% molasses (treatment no. 9), 6.70×108 ±1.26 spores/ml mixed with 5%, 10% and 15% molasses (treatment no. 12, 13 and 14) and 1×109 ± 0.14 spores/ml mixed with 10% and 15% molasses (treatment no. 18 and 19 gave the highest survival rate of T. harzianum on organic fertilizer pellet. The treatments no. 18, 13, 19 and 14 gave highest spores concentration content as 4.25x108±0.39, 3.23x108 ±0.45, 2.42x108 ± 0.52 and 1.90x108 ±0.13 spores /ml on, respectively. The result suggested that, molasses was necessary for T. harzianum and the treatment no. 13 (spore solution at 6.70x108 spores/ml together with 10% molasses) and 18 (spore solution at 1x109 spores/ml together with 10% molasses) are suitable for produced in the pelleted organic fertilizer mixed with T. harzianum. When considering on survival rate and spore count parameters.


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย