การปลดปล่อยธาตุอาหารพืชส่วนที่ละลายน้ำได้ของปุ๋ยอินทรีย์ ที่ใช้ลีโอนาร์ไดต์เป็นวัสดุผสมหลัก

Main Article Content

จุฬาลักษณ์ จงสุพรรณพงศ์
กรรณิการ์ สัจจาพันธ์
แสงดาว แลนรอด-เขาแก้ว

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติ ของปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ลีโอนาร์ไดต์ (Leo) ตามเงื่อนไข ข้อกำหนดปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร ปุ๋ยนี้ได้จากการผสมลีโอนาร์ไดต์ 45 เปอร์เซ็นต์ แกลบไบโอชาร์ 35 เปอร์เซ็นต์ และกากถั่วเหลือง 20 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก สกัดธาตุฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) และ แมกนีเซียม (Mg) ด้วยสารสกัด Mehlich III ศึกษา การปลดปล่อยธาตุไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) ส่วนที่ละลายน้ำได้ ที่ระยะเวลาการสกัดต่างๆ (30, 60 และ 120 นาที) ในปุ๋ย Leo เพื่อใช้เป็น ข้อมูลเบื้องต้นประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่า ปุ๋ย Leo มีสมบัติทุกประการ ผ่านเงื่อนไขปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร โดยปุ๋ยมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ และมีพีเอชต่ำกว่า 6 การปลดปล่อยไนโตรเจน เกิดขึ้นได้เร็วและสูงสุด ที่ระยะเวลาการสกัด 30 นาที แต่คิดเป็นเพียง 0.13 เปอร์เซ็นต์ ของ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในปุ๋ย รูปแบบการ ปลดปล่อยฟอสฟอรัส คล้ายกับการปลดปล่อย แคลเซียม เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ของฟอสฟอรัส ในปุ๋ยเป็นส่วนที่สกัดได้ด้วยน้ำ อย่างไรก็ตาม การละลายของฟอสฟอรัสช้ามาก และปริมาณ ฟอสฟอรัสทั้งหมดในปุ๋ย Leo มีค่าต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักปุ๋ย พิจารณาจากสมบัติ ของปุ๋ยและการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชในส่วน ที่ละลายน้ำได้ ปุ๋ย Leo สามารถพิจารณาได้ว่า เป็นปุ๋ยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย