ผลของเศษซากพืชร่วมยางพาราต่อการปลดปล่อยฟอสฟอรัสในดิน

Main Article Content

ขวัญตา ขาวมี
วสิทธิ์ แซ่เตียว
จำเป็น อ่อนทอง

Abstract

การปลูกพืชร่วมยางพาราเป็นการเพิ่ม เศษซากพืชลงในดิน และเป็นการหมุนเวียน ธาตุอาหารพืช โดยฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารหลัก และพบมากในวัสดุอินทรีย์ ฟอสฟอรัสที่เป็น ประโยชน์จะขึ้นอยู่กับกระบวนการมิเนอรัลไลเซชัน ของฟอสฟอรัสจากเศษซากใบพืช จึงศึกษา ฟอสฟอรัสทั้งหมด และอัตราส่วนองค์ประกอบ ทางเคมีในเศษซากใบพืชต่อฟอสฟอรัสที่เป็น ประโยชน์ และอิมโมบิไลเซชัน-มิเนอรัลไลเซชันของ ฟอสฟอรัส วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (4 ทรีตเมนต์ 3 ซ้ำ) ; 1) บ่มดินอย่างเดียว (CT) 2) บ่มดินร่วมกับเศษซากใบไผ่ (Ba) 3) บ่มดิน ร่วมกับเศษซากใบตะเคียน (H) และ 4) บ่ม ดินร่วมกับเศษซากใบผักเหลียง (Gn) ที่เวลา 0-120 วัน พบว่าใบผักเหลียงมีฟอสฟอรัสทั้งหมด สูงที่สุด อัตราส่วนคาร์บอน-ไนโตรเจน และ คาร์บอน-ฟอสฟอรัสต่ำที่สุด แต่เกิดอิมโมบิไล เซซันของฟอสฟอรัสในดินที่บ่มร่วมกับเศษ ซากใบพืชทั้ง 3 ชนิด อย่างไรก็ตาม Gn มี ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และฟอสฟอรัสที่เป็น ประโยชน์ที่ปลดปล่อยจากเศษซากพืชสูงที่สุด ดังนั้น การเลือกพืชร่วมยางพาราที่มีฟอสฟอรัส และอัตราส่วนองค์ประกอบทางเคมีใกล้เคียง กับใบผักเหลียง จะช่วยเพิ่มฟอสฟอรัสที่เป็น ประโยชน์ในดิน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย