การจัดการดินภายหลังการเกิดน้ำท่วมซ้ำซากของชาวนา ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ดรุณี ชุมพร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวนา (2) ลักษณะการทำนาในบริเวณพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก (3) ความคิดเห็นของชาวนาเกี่ยวกับคำแนะนำการจัดการ ดินในพื้นที่ปลูกข้าวหลังน้ำท่วมของกรมพัฒนาที่ดิน (4) วิธีการจัดการดินของชาวนาในพื้นที่ปลูกข้าวหลัง น้ำท่วม และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการ ดินของชาวนาภายหลังการเกิดน้ำท่วมซ้ำซาก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ทำการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอนจากประชากร 536 ราย ได้กลุ่ม ตัวอย่าง 229 ราย เก็บข้อมูลโดยการสอบถาม และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) ชาวนาในตำบล บางเลน อำเภอบางระกำ จังหวัดนครปฐม ส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.70 ปี ส่วนใหญ่จบการ ศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4.04 คน มีแรงงานครอบครัวและแรงงานทำ การเกษตรเฉลี่ย 2.66 คน แรงงานจ้างเฉลี่ย 1.34 คน การเป็นสมาชิกกลุ่ม พบว่าส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่ม ธกส. ชาวนามีอาชีพหลักคือทำนา และอาชีพเสริมคือ รับจ้างทั่วไป พื้นที่เกษตรถือครองทั้งหมดเฉลี่ย 17.17 ไร่ และพื้นที่เช่าทำนา 12.24 ไร่ รายได้ของชาวนา รวมต่อปีเฉลี่ย 246,000.04 บาท รายได้นอกภาค การเกษตร 23,707.42 บาท ชาวนาส่วนใหญ่มีภาระ หนี้สิน และแหล่งเงินกู้จาก ธกส. เครื่องมือที่ใช้ใน การทำนาคือรถไถเดินตาม (2) ชาวนาส่วนใหญ่มี ประสบการณ์ทำนาเฉลี่ย 31.26 ปี และมีวัตถุประสงค์ ในการทำนาเพื่อปลูกไว้ขายอย่างเดียว พื้นที่ทำนา ส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทาน ชาวนาทำนา 2 ครั้ง/ปี พันธุ์ข้าวที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ กข 41 จำนวนพื้นที่ ปลูกเฉลี่ย 25.22 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 127.55 ถังต่อไร่ หรือ 1,270 กิโลกรัมต่อไร่ ในพื้นที่ปลูกข้าวที่มีน้ำ ท่วมขัง ชาวนาทำการสูบน้ำออกจากพื้นที่เอง ลักษณะ การทำนาของชาวนาส่วนใหญ่จ้างทำ (3) ความคิดเห็น เกี่ยวกับคำแนะนำการจัดการดินในพื้นที่ปลูกข้าวหลัง น้ำลดของกรมพัฒนาที่ดิน 14 ประเด็น พบว่าชาวนามี ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยเห็นด้วยมากที่สุด 4 ประเด็น ได้แก่ ก่อนปลูกข้าวควรมีการระบายน้ำท่วม ออกจากพื้นที่ ควรไถกลบตอซัง หรือต้นข้าวที่ถูกน้ำ ท่วมควรมีการใช้ปุ๋ยคอกบำรุงดิน และมีการใช้ปุ๋ยเคมี บำรุงดิน (4) ชาวนาส่วนใหญ่มีการปฏิบัติในการจัดการ ดินตามประเด็นที่กำหนด 5 ประเด็น จาก 11 ประเด็นธกส. ชาวนามีอาชีพหลักคือทำนา และอาชีพเสริมคือ รับจ้างทั่วไป พื้นที่เกษตรถือครองทั้งหมดเฉลี่ย 17.17 ไร่ และพื้นที่เช่าทำนา 12.24 ไร่ รายได้ของชาวนา รวมต่อปีเฉลี่ย 246,000.04 บาท รายได้นอกภาค การเกษตร 23,707.42 บาท ชาวนาส่วนใหญ่มีภาระ หนี้สิน และแหล่งเงินกู้จาก ธกส. เครื่องมือที่ใช้ใน การทำนาคือรถไถเดินตาม (2) ชาวนาส่วนใหญ่มี ประสบการณ์ทำนาเฉลี่ย 31.26 ปี และมีวัตถุประสงค์ ในการทำนาเพื่อปลูกไว้ขายอย่างเดียว พื้นที่ทำนา ส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทาน ชาวนาทำนา 2 ครั้ง/ปี พันธุ์ข้าวที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ กข 41 จำนวนพื้นที่ ปลูกเฉลี่ย 25.22 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 127.55 ถังต่อไร่ หรือ 1,270 กิโลกรัมต่อไร่ ในพื้นที่ปลูกข้าวที่มีน้ำ ท่วมขัง ชาวนาทำการสูบน้ำออกจากพื้นที่เอง ลักษณะ การทำนาของชาวนาส่วนใหญ่จ้างทำ (3) ความคิดเห็น เกี่ยวกับคำแนะนำการจัดการดินในพื้นที่ปลูกข้าวหลัง น้ำลดของกรมพัฒนาที่ดิน 14 ประเด็น พบว่าชาวนามี ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยเห็นด้วยมากที่สุด 4 ประเด็น ได้แก่ ก่อนปลูกข้าวควรมีการระบายน้ำท่วม ออกจากพื้นที่ ควรไถกลบตอซัง หรือต้นข้าวที่ถูกน้ำ ท่วมควรมีการใช้ปุ๋ยคอกบำรุงดิน และมีการใช้ปุ๋ยเคมี บำรุงดิน (4) ชาวนาส่วนใหญ่มีการปฏิบัติในการจัดการ ดินตามประเด็นที่กำหนด 5 ประเด็น จาก 11 ประเด็น (5) ชาวนาประสบปัญหา คือปุ๋ยเคมีและสารกำจัด ศัตรูพืชมีราคาสูง และการระบาดของแมลงศัตรูข้าว

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย