การประยุกต์ใช้ข้อมูลระดับความสูง อันดับดิน การชลประทานและสภาพความชื้นดิน เพื่อการวางแผนจัดการทรัพยากรที่ดินทางการเกษตร บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผน การใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรอย่างยั่งยืน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์มา ประเมินศักยภาพทางการเกษตรของที่ดิน โดยเงื่อนไข ที่นำมาใช้เป็นเกณฑ์ประกอบด้วย ระดับความสูงของ พื้นที่ อันดับดิน พื้นที่ระบบชลประทาน และสภาพ ความชื้นดิน ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะนำเข้าสู่โปรแกรม สารสนเทศภูมิศาสตร์ และใช้วิธีการซ้อนทับชั้นข้อมูล ตามค่าน้ำหนักที่กำหนดไว้เป็นเกณฑ์ โดยแบ่งชั้น ศักยภาพทางการเกษตรของที่ดินออกเป็น 6 ชั้น ว่าเป็น ที่ดินที่เหมาะสมทางการเกษตรมากที่สุดลดหลั่นกันลง ไปตามลำดับชั้น 1-5 สำหรับชั้น 6 นั้นต้องอนุรักษ์ไว้ เป็นป่าไม้เท่านั้น ร่วมกับการศึกษาการใช้ที่ดินปัจจุบัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ พื้นที่นาข้าว (P) พื้นที่เกษตรอื่นๆ (OA) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง (U) พื้นที่ป่าไม้(F) พื้นที่แหล่งน้ำ (W) และพื้นที เบ็ดเตล็ด (M) และประเมินความเหมาะสมศักยภาพ ของการใช้ที่ดินปัจจุบัน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า (ก) ภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบนมีพื้นที่ความสูงของ APLC 1-6 ร้อยละ 0.01, 0.41, 0.05, 2.69, 84.44 และ 12.4 ตาม ลำดับ (ข) มีอันดับดินของพื้นที่ APLC 1-6 ร้อยละ 12.15, 2.82, 22.20, 41.90, 0.00 และ 20.94 ตาม ลำดับ (ค) มีพื้นที่ระบบชลประทานของ APLC 1, 4 และ 6 ร้อยละ 4.52, 83.08 และ 12.40 ตามลำดับ (ง) มีพื้นที่ความชื้นดินของ APLC 1, 5 และ 6 ร้อยละ 21.23, 57.84 และ 20.94 ตามลำดับ (จ) มีการใช้ที่ดิน เป็น P, OA, U, F, W และ M ร้อยละ 19.27, 5.21, 25.32, 42.04, 4.64 และ 3.52 ตามลำดับ (ฉ) เมื่อ ประเมินความเหมาะสมของการใช้ที่ดินในพื้นที่ชั้น 1-3 พบว่าเหลือพื้นที่นาข้าวซึ่งป้องกันการชะล้างพังทลาย ของดินโดยน้ำได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และมีโอกาสผลิต พืชไร่อายุสั้นหลังนาได้