ผลของการไถพรวนและการจัดการเศษเหลือพืชต่อการเติบโต ผลผลิต และการกักเก็บคาร์บอนในพืชและดินในการทำนา

Main Article Content

บังอร อุบล
ศุภชัย อำคา
เครือมาศ สมัครการ

Abstract

ผลของการไถพรวนที่ต่างกันร่วมกับการ จัดการตอซังข้าว ในการปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 80 ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต รวมทั้งการกักเก็บ คาร์บอน โดยวางแผนการทดลองแบบ 2X2 Factorial in Completely Randomized Design จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือปัจจัยที่ 1 ได้แก่ การไถพรวนปกติ (conventional tillage) และการ ไถพรวนน้อย (Minimum Tillage) และปัจจัยที่ 2 ได้แก่การเผาตอซังและการไม่เผาตอซัง ผลการทดลอง พบว่า การไถพรวนและการไม่เผาตอซังให้ความสูง ของข้าวมากกว่าการไถพรวนน้อยและการเผาตอซัง เมื่อต้นข้าวอายุ 95 วัน แต่ทั้งหมดไม่มีความแตกต่าง เมื่อระยะเก็บเกี่ยว ในขณะที่การไม่เผาตอซังข้าวให้ ผลผลิตข้าวสูงกว่าการเผาตอซัง และมีความแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวนการแตกกอ ของข้าว ผลการวิเคราะห์ดินหลังปลูกพบว่าการจัดการ ทั้งสองปัจจัย ไม่มีผลต่อปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในดิน ปริมาณคาร์บอนทั้งหมด ในดิน และความหนาแน่นรวมของดิน ไม่มีความ แตกต่างกันทางสถิติ รวมถึงปริมาณการปลดปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่พบว่ามีแนวโน้มว่าการ ไถพรวนน้อยร่วมกับเผาตอซังมีอัตราการปลดปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดการเพาะปลูกน้อยที่สุด คือ 363.05 g CO2-C/m2/crop โดยในขณะเดียวกัน พบว่าการไถพรวนน้อยมีการสะสมคาร์บอนจากเศษพืช คือ 871.72 เมื่อเทียบกับ 761.20 กิโลกรัมต่อไร่ของ การไถพรวน และสุดท้ายพบว่าการจัดการทั้งสองปัจจัย ไม่มีผลต่อการสะสมคาร์บอนในดิน แต่การไถพรวน มีการสะสมคาร์บอนในดินมากกว่าการไถพรวนน้อย คือ 7730.04 กิโลกรัมต่อไร่ และการไม่เผาตอซัง มีการสะสมคาร์บอนในดินมากกว่าการเผาตอซัง คือ 7911.63 กิโลกรัมต่อไร

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย