ผลของชนิดปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตของคะน้า การชะละลายไนเทรต และปริมาณไนตริฟายอิงแบคทีเรียในดิน

Main Article Content

ทิพย์วรรณ สะอาดเงิน
ชัยสิทธิ์ ทองจู
พรไพรินทร์ รุ่งเจริญทอง
ศุภชัย อำคา

Abstract

จากการศึกษาชนิดของปุ๋ยไนโตรเจนในการ ปลูกคะน้าด้วยชุดดินยางตลาดต ่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจน โดย วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 6 ซ้ำ และ 5 ตำรับการทดลอง คือ ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน เป็นตำรับควบคุม (T1:Non-N) ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 20 กก.N/ไร่ (T2:Urea-N) ปุ๋ยยูเรียอัตรา 20 กก.N/ไร่ ร่วมกับสารยับยั้งกระบวนการไนตริฟิเคชั่น (dicyandiamide ; DCD) ในอัตรา 10% ของปุ๋ยยูเรีย (T3:Urea-N+DCD) ปุ๋ยไนโตรเจนละลายช้า (30-0-0; Crotonylidene diurea ; CDU ; ∅ 2.8-4.1 mm) อัตรา 20 กก.N/ไร่ (T4:UBER-7) และปุ๋ยไนโตรเจน ละลายช้า (30-0-0 ; Crotonylidene diurea ; CDU ; ∅ 1.2-1.4 mm) อัตรา 20 กก.N/ไร่ (T5:UBERMicro 5) โดยทุกตำรับการทดลองใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส (0-46-0) และโพแทสเซียม (0-0-60) ในอัตรา 10 กก.P2 O5 /ไร่ และ 15 กก.K2 O/ไร่ ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าการใส่ปุ๋ยยูเรียร่วมกับสารยับยั้ง กระบวนการไนตริฟิเคชั่น (T3) ให้ความสูง น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งของคะน้าสูงที่สุด และมีความแตกต่าง กันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการใส่ปุ๋ย UBER-7 (T4) ส่งผลให้มีการชะละลายไนเทรตในดินน้อยที่สุด (17.76 มล. NO3 - /กก) นอกจากนี้ยังพบว่าการใส่ยูเรีย ร่วมกับสารยับยั้งกระบวนการไนตริฟิเคชั่น (T3) ส่งผล ให้มีปริมาณของ ammonium oxidizing bacteria ในดินลดลงในทุกระยะการทดลอง เมื่อเทียบกับตำรับ ที่ใส่ปุ๋ยยูเรียเพียงอย่างเดียว

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย