แคลเซียม : ธาตุอาหารสำคัญในการผลิตผลไม้คุณภาพ

Main Article Content

สุมิตรา ภู่วโรดม

Abstract

ธาตุอาหารมีผลต่อคุณภาพของผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้ โดยทั่วไปแล้ว ผลไม้ที่มี แคลเซียมและโบรอนสูง มักมีคุณภาพของผลโดยเฉพาะ อย่างยิ่งความคงทนในการเก็บรักษา ส่วนไนโตรเจน และโพแทสเซียมจะเป็นไปในทางตรงกันข้าม การศึกษา ส่วนใหญ่ทำในผลไม้เมืองหนาว ในผลไม้เมืองร้อน ซึ่งดินมักมีแคลเซียมต่ำมีการศึกษาน้อย ในช่วงหลาย ปีที่ผ่านมา คณะผู้วิจัยได้มีการศึกษาผลของการใส่ แคลเซียมและโบรอนในมังคุดซึ่งมักเกิดอาการเนื้อแก้ว /ยางไหล และสะละ ซึ่งมักเกิดอาการหัวยุบ/ดำ เพื่อ หาทางแก้ปัญหาดังกล่าว ผลของการใส่แคลเซียมทาง ดินในรูปของยิบซัม หรือร่วมกับการฉีดพ่นแคลเซียม และโบรอน ทำให้อาการผิดปกติของผลมังคุดและสะละ ลดลง แต่การฉีดพ่นแคลเซียมหรือแคลเซียมร่วมกับ โบรอน ไม่ทำให้อาการผิดปกติลดลงจากการให้ทางดิน อย่างเดียว สำหรับความเข้มข้นของแคลเซียมในเนื้อ มังคุดและสะละ พบว่าผลที่มีอาการผิดปกติกลับมี ความเข้มข้นของแคลเซียมในเนื้อสูงกว่าผลปกติ แต่ เมื่อคำนวณสัดส่วนของ K/Ca ซึ่งเป็นค่าที่นิยมใช้ใน การชี้บ่งอาการผิดปกติของผลไม้ พบว่าผลที่มีอาการ ผิดปกติมี K/Ca สูงกว่าผลปกติ ซึ่งสอดคล้องกับ ที่พบในผลไม้ชนิดอื่นๆ ผลการทดลองแสดงว่า ความเข้มข้นของแคลเซียมในผล ไม่สามารถเป็นเครื่อง ชี้บ่งอาการผิดปกติของผลได้ จึงได้ศึกษาการกระจาย ของแคลเซียมในผนังเซลล์ (cell wall material) ของ มังคุด เนื่องจากอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับ ความแข็งแรงของผนังเซลล์ โดยคาดหวังว่า อาจมี ปริมาณแคลเซียมในส่วนใดส่วนหนึ่งของผนังเซลล์ที่ เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติ ปรากฏว่า ผลที่มีอาการ เนื้อแก้ว มีปริมาณ Ca ในส่วนที่สกัดด้วย CDTA ซึ่งเป็นแคลเซียมที่ยึดกับผนังเซลล์ (wall-bound calcium) สูงกว่าผลปกติ และแคลเซียมในส่วนนี้ ไม่สามารถเปลี่ยนรูปไปเป็นแคลเซียมที่ละลายน้ำได้ เมื่อผลสุก คณะผู้วิจัยสันนิษฐานว่าการที่มีแคลเซียม ที่ยึดกับผนังเซลล์ในสัดส่วนสูง อาจทำให้แคลเซียม ในอโพพลาสต์ (apoplast) ลดลง จนกระทั่งมีผลต่อ การทำงานและหน้าที่ของแคลเซียม ยังผลให้เกิดความ ผิดปกติในเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุของเนื้อแก้ว ในมังคุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย