การใช้สารเร่งเชิงชีวภาพเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

Main Article Content

ยงยุทธ โอสถสภา

Abstract

ปุ๋ยเคมีที่ใส่ในดินมีการสูญหายหรือเปลี่ยน สภาพได้หลายทาง เช่น ส่วนหนึ่งสูญหายไปกับการ กร่อนดินและการชะละลาย ในขณะที่บางส่วนถูกตรึง ไว้ในดินอยู่ในรูปที่ละลายยากและไม่เป็นประโยชน์ ต่อพืช ทำให้ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยในการเกษตร ค่อนข้างต่ำ การจัดการปุ๋ยอย่างถูกต้อง 4 ประการ คือด้านชนิดปุ๋ย อัตราปุ๋ย จังหวะเวลาในการใส่และ บริเวณที่ใส่ปุ๋ย จะช่วยให้ประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยสูง แต่ยังมีการปฏิบัติอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้พืชดูดธาตุอาหาร จากปุ๋ยที่ใส่ในดินได้มากขึ้น คือ การใช้ “สารเร่ง เชิงชีวภาพ (biostimulants)” ซึ่งหมายถึงสารใดๆ ก็ตาม [ยกเว้นสารที่ให้ธาตุอาหาร (nutrients) หรือ สารฆ่าศัตรูพืช (pesticides)] ที่ใส่ให้พืช เมล็ดพืช หรือวัสดุปลูกพืช แล้วช่วยปรับกระบวนการทางสรีระ ทำให้พืชมีศักยภาพในการเจริญเติบโตสูงขึ้น และทน ต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ทั้งด้านที่เกี่ยวข้อง กับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป ความ แห้งแล้ง ฯลฯ และด้านที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เช่น โรคพืช “สารเร่งเชิงชีวภาพ” ได้แก่ สารฮิวมิก (humic substances) กรดอะมิโน (amino acids) สารสกัด จากวัชพืชทะเล (seaweed extract) และไคโตซาน (chitosan) เนื่องจาก “สารเร่งเชิงชีวภาพ” เหล่านี้เมื่อให้ แก่พืชทางดิน ทางใบ หรือใส่ในสารละลายธาตุอาหาร สำหรับปลูกพืช มีผลเชิงบวกต่อกลไกการดูดธาตุอาหาร ของเซลล์พืช โดยมีผลดีต่อลักษณะสัณฐานของราก และการละลายของธาตุอาหารในดิน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย