การตรวจสอบแนวเขตป่าไม้ถาวรเบื้องต้นผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

Main Article Content

สุรีรัตน์ อุดมบุณยลักษณ์

Abstract

ในปี พ.ศ. 2503 สมัยที่ ฯพณฯ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ปรารภและ บัญชาว่าต้องการจะรักษาพื้นที่ของประเทศไทยไว้เป็น ป่าไม้สมบัติของชาติร้อยละ 50 ของพื้นที่ประเทศไทย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือ ที่ 5343/2503 ลง วันที่ 7 เมษายน 2503 เรื่องการสำรวจจำแนกประเภท ที่ดินถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีความว่า กระทรวง มหาดไทยได้พิจารณาแล้วชี้แจงว่าการเตรียมการ เพื่อดำเนินงานตามโครงการสำรวจจำแนกประเภท ที่ดิน ในขณะที่ยังไม่ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ งบประมาณแผ่นดินประจำปี พ.ศ. 2504 นั้น กระทรวง มหาดไทยได้เตรียมการที่จะดำเนินการตามลำดับ โดย อาศัยมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2506 เมื่อได้มีการจัดตั้งกรมพัฒนาที่ดิน จึงมีการถ่ายโอนอำนาจให้เป็นหน้าที่ของกรมพัฒนา ที่ดิน จนกระทั่งได้มีพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2551 ภารกิจดำเนินการจำแนก ประเภทที่ดินเป็นหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดินที่จะ มุ่งเน้นจำแนกประเภทที่ดินเป็น 2 ประเภท เพื่อ กำหนดเขตที่ป่าไม้ซึ่งกรมป่าไม้จะได้ดำเนินการสงวน คุ้มครองและดูแลรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป กับกำหนดเขตที่ดินที่จะนำมาจัดสรรให้ประชาชนใช้ เป็นที่อยู่อาศัยและประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน การออกเอกสาร สิทธิที่ดินจะไม่ดำเนินการในพื้นที่ที่เป็นที่ดินของรัฐ เว้นแต่พื้นที่ดังกล่าวได้มีการแจ้งการครอบครองก่อน ประมวลกฎหมายที่ดินทำกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน พื้นที่ป่าต่างๆ ได้แก่ ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ป่าสงวนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์ เป็นต้น ดังนั้นก่อนที่ กรมที่ดินจะดำเนินการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน จึงจะ ต้องตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวก่อน กรมที่ดินหรือผู้ที่ ต้องการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินก็จะขอรับบริการสอบถาม และตรวจสอบข้อมูลและแนวเขตป่าไม้ถาวรมายังกรม พัฒนาที่ดินในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก (ปีละประมาณ 400 เรื่อง และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ) และใน แต่ละเรื่องจะใช้ระยะเวลาการดำเนินการประมาณ 20 วัน ซึ่งผลการตรวจสอบเขตป่าไม้ถาวรจะมีทั้งอยู่นอก หรืออยู่ในเขตป่าไม้หรือคาบเกี่ยวแนวเขตป่าไม้ถาวร เพราะสิ่งที่กรมพัฒนาที่ดินดำเนินการตรวจสอบนั้น มีผลกระทบ มีผลประโยชน์ มีผลต่อมูลค่าที่ดินต่างๆ มากมาย ในขณะเดียวกันกรมพัฒนาที่ดินในฐานะเป็น ผู้ตรวจสอบควรระมัดระวัง เพราะว่าการดำเนินการ ตรวจสอบต่างๆ มีเอกสารหลักฐานที่สามารถตรวจสอบ ได้ เพราะฉะนั้น สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่ควรระมัดระวังเป็น อย่างมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย