บทบาทของอีลิซิเตอร์ด้านสรีระของพืช
Main Article Content
Abstract
การกระตุ้นพืช (elicitation) เป็นวิธีการ ชักนำ (induce) ให้พืชมีการเปลี่ยนแปลงทาง สรีระและกระตุ้นให้ขีดความสามารถในการ ป้องกันภัยจากภายนอกดีขึ้นหรือมีการตอบสนองต่อ สิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม การกระตุ้นพืชด้วย สารอีลิซิเตอร์ (elicitors) กับไม้ผล พืชผักและ พืชสมุนไพร ช่วยจุดชนวนให้พืชเหล่านั้นสังเคราะห์ สารประกอบอินทรีย์บางชนิดขึ้นมา ผลการวิจัย เกี่ยวกับสารเมแทบอไลต์ (metabolite) ที่พืช สังเคราะห์ขึ้นมานี้ พบว่าเป็นสารที่มีสมบัติอย่างใด อย่างหนึ่งใน 3 ประการนี้ คือ (1) ช่วยให้พืช ปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม (2) มีสมบัติที่ทำให้ อาหารซึ่งประกอบขึ้นจากพืชเหล่านั้น มีกลิ่นรส ที่จำเพาะเจาะจง และ (3) มีสรรพคุณด้านเภสัช เช่น ช่วยให้เซลล์ของมนุษย์มีความต้านทานต่อ กระบวนการออกซิเดชัน อันเป็นสาเหตุของการ เกิดโรคบางชนิด อีลิซิเตอร์มี 3 ชนิด คือ (1) สารชีวนะ ซึ่ง สิ่งมีชีวิตสร้างขึ้น (2) สารอชีวนะ ได้แก่ สารเคมี หรือสิ่งที่เกิดจากกระบวนการทางฟิสิกส์ และ (3) ฮอร์โมนพืช นักวิจัยได้ทดลองใช้สารเหล่านี้กับ พืชในแบบต่างๆ โดยใช้สารทีละอย่าง ใช้ร่วมกัน หลายอย่าง ใส่ในการละลายปลูกพืช ฉีดพ่นทางใบ ให้กับพืช ในระยะการเจริญเติบโตต่างๆ รวมทั้ง ให้หลังการเก็บเกี่ยวพืชแล้ว ทั้งนี้เพื่อแสวงหา ข้อมูลว่าพืชมีกระบวนการตอบสนองต่ออีลิซิเตอร์ โดยการสังเคราะห์สารเมแทบอไลต์ทุติยภูมิ (secondary metabolite) อย่างไร ทั้งนี้เพื่อจะ ได้นำวิธีการใช้อีลิซิเตอร์เพื่อกระตุ้นการสังเคราะห์ เมแทบอไลต์ทุติยภูมิที่จะช่วยให้พืชที่ผลิตสารนี้ได้ มีความแข็งแรงและผลผลิตมีคุณภาพดีด้วย