การปรับปรุงกิจกรรมของฟอสฟาเตสและมิเนอรัลไลเซชันของไนโตรเจนในดิน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากไมคอร์ไรซาที่อยู่ร่วมกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปุ๋ยหมักกากตะกอนเยื่อกระดาษที่ระดับแตกต่างกัน

Main Article Content

อาภาพร ขันตี
สิรินภา ช่วงโอภาส
ธงชัย มาลา

Abstract

การศึกษากิจกรรมของฟอสฟาเตสและ มิเนอรัลไลเซชันของไนโตรเจนในดินที่ได้รับผล จาก Glomus aggregatum ซึ่งเจริญร่วมกับ ข้าวโพดและใส ่ปุ๋ยหมักกากตะกอนเยื่อกระดาษ ในระดับต่างๆ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แบบแฟคทอเรียล 2×4 มี2 ปัจจัย 1) การใส่ และไม่ใส่ราวีเอไมคอร์ไรซา 2) ปริมาณปุ๋ยหมัก 4 ระดับคือ 0, 1,000, 2,000 และ 4,000 กก./ไร่ มีการวิเคราะห์ตัวอย ่างดินและข้าวโพดในการ ทดลอง ผลการทดลองแสดงว่า การใส ่ราวีเอ ไมคอร์ไรซาทำให้ปริมาณเอซิดฟอสฟาเตส ที่ 2, 4 และ 6 สัปดาห์ และปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น ประโยชน์ในดิน ที่ 2 สัปดาห์สูงกว่าการไม่ใส่เชื้อ อย่างไรก็ตาม ไม่ทำให้เกิดความแตกต่างทางสถิติ ของการเข้าอาศัยในรากของราและมิเนอรัลไลเซชัน ของไนโตรเจน การใส่ปุ๋ยหมัก 4,000 กก./ไร่ ทำให้ปริมาณเอซิดฟอสฟาเตสและฟอสฟอรัส ที่เป็นประโยชน์ ที่ 2 สัปดาห์สูงสุด คือ 15.92 พีพีเอ็ม และ 19.58 มก./กก. ตามลำดับ ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กก./ไร่ ทำให้ปริมาณฟอสฟอรัส ที่เป็นประโยชน์ที่ 4 สัปดาห์ สูงสุด คือ 28.83 มก./กก. ปุ๋ยหมักอัตรา 4,000 กก./ไร่ มีอิทธิพล ให้ปริมาณมิเนอรัลไลเซชันของไนโตรเจน ที่ 4 สัปดาห์สูงสุดเท่ากับ 6.25 µg g -1 dwt day-1และ อัตรา 4,000 กก./ไร่ ทำให้น้ำหนักแห้งของใบ และราก ปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสทั้งหมด สูงกว่าการใส่ปุ๋ยหมักในอัตราอื่น ในใบข้าวโพด มีปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสทั้งหมดสูง ดังนั้นการใส่ปุ๋ยหมักกากตะกอนเยื่อกระดาษเป็น การเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน กระตุ้นกิจกรรมของ วีเอไมคอร์ไรซา รวมถึงการเพิ่มมิเนอรัลไลเซชัน ของไนโตรเจนในดิน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย