อัตราปุ๋ยโพแทสเซียมต่อปริมาณสารต้านออกซิเดชัน และฤทธิ์ในการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันของข้าวพันธุ์ กข69 (ทับทิมชุมแพ)

Main Article Content

ธัญวราภรณ์ ปรุงฆ้อง
ธัญวราภรณ์ ปรุงฆ้อง
รณชัย ช่างศรี
สุพัฒนา บุรีรัตน์
พิบูลวัฒน์ ยังสุข
มัณฑนา นครเรียบ
จิราภรณ์ กระแสเทพ

Abstract

โพแทสเซียม เป็นธาตุอาหารที่มีบทบาท สำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงและการหายใจ ควบคุมการเปิดปิดของปากใบ การเคลื่อนย้าย น้ำตาลในท่อลำเลียงอาหาร และการสะสมน้ำตาล ดังนั้น การให้ปุ๋ยโพแทสเซียมในอัตราที่เหมาะสม อาจมีผลต่อการลำเลียงและสะสมปริมาณสารต้าน ออกซิเดชัน วัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อทดสอบ เบื้องต้น เกี่ยวกับอัตราปุ๋ยโพแทสเซียมที่เหมาะสม ในการปลูกข้าวพันธุ์ กข69 (ทับทิมชุมแพ) เพื่อ ให้ได้ปริมาณสารต้านออกซิเดชันประเภทฟีโนลิก ฟลาโวนอยด์ และแอนโทไซยานินสูง รวมทั้งฤทธิ์ ในการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันที่สูงของข้าวพันธุ์ กข69 (ทับทิมชุมแพ) ดำเนินงานในสภาพแปลง ที่ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ ในฤดูนาปี2557 โดยใช้ปุ๋ย ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส อัตรา 12-6 กิโลกรัม N-P 2 O 5 ต่อไร่ทุกกรรมวิธีปุ๋ยโพแทสเซียม 5 อัตรา คือ 0, 6, 12, 18 และ 24 กิโลกรัม K 2 O ต่อไร่ พบว่า อัตราปุ๋ยโพแทสเซียมไม่ทำให้ผลผลิตข้าว ทับทิมชุมแพแตกต่างกัน โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 705 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราปุ๋ยโพแทสเซียมไม่มีผลต่อ จำนวนรวงและความสูง การวิเคราะห์ปริมาณสาร ต้านออกซิเดชัน ความสามารถในการรีดิวซ์เหล็ก และฤทธิ์การต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันของข้าวกล้อง หลังเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์ พบว่าอัตรา 6 กิโลกรัม K 2 O ต่อไร่ ทำให้ปริมาณแอนโทไซยานินสูงสุด (8.8045 ± 2.33 mg cyanidin-3 glucoside/mL) อัตรา 18 กิโลกรัม K 2 O ต่อไร่ มีปริมาณฟีโนลิก รวมสูงสุด และอัตรา 18 กิโลกรัม K 2 O ต่อไร่ ให้ผลดีต่อทั้งปริมาณสารต้านออกซิเดชัน ได้แก่ ฟีโนลิกรวม (203.3 mg/GAE/100 g sample) ฟลาโวนอยด์(281.4476 ± 10.87 mg quercetin /100 g sample) และแอนโทไซยานิน (5.5607 ± 3.03 mg cyanidin-3 glucoside/mL) ความ สามารถในการรีดิวซ์เหล็กสูง (1,735.3108 ± 96.55 mM Fe(II)/100 g sample) และมีฤทธิ์ ในการต้านออกซิเดชันสูง DPPH (IC50 3.1138 ± 0.03 mg/mL) สรุปได้ว่าปุ๋ยโพแทสเซียมอัตรา 18 กิโลกรัม K 2 O ต่อไร่ มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวพันธุ์กข69 (ทับทิมชุมแพ) เพื่อให้ได้ สารต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ในการต้านปฏิกิริยา ออกซิเดชันสูง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย