อิทธิพลของการใส่วัสดุอินทรีย์แบบต่อเนื่อง ต่อการเปลี่ยนแปลงเส้นโค้งลักษณะความชื้นในดินที่ใช้ปลูกอ้อย

Main Article Content

กาญจนา ชาวบุรี
กุมุท สังขศิลา
สุชาดา กรุณา
ปุญญิศา ตระกูลยิ่งเจริญ

Abstract

ศึกษาผลของการจัดการดินด้วยการใส ่ วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินอย่างต่อเนื่องที่นานแตกต่าง กัน ต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำให้พืชได้ใช้ ประโยชน์ของดิน ในกลุ่มดินเนื้อหยาบ (coarse texture) และเนื้อปานกลาง (medium texture) ที่ใช้ปลูกอ้อย โดยตรวจจากการเปลี่ยนแปลงของ เส้นโค้งลักษณะความชื้นของดิน และประเมินการ กระจายช่องโดยใช้สมการในรูปที่เสนอโดย van Genuchten (1980) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ แบบสุ่มสมบูรณ์ โดยการแยกวิเคราะห์แต่ละกลุ่ม เนื้อดิน เก็บตัวอย่างดินสำหรับการใส่วัสดุอินทรีย์ ที่แตกต่างกัน 4 แบบ ได้แก่ ไม่ใส่วัสดุอินทรีย์, ใส่กากตะกอนหม้อกรอง (filter cake) ผสมมูลไก่ ในอัตราเฉลี่ย 300-500 กก./ไร่/ปีต่อเนื่องนาน 1, 3 และ 5 ปีเก็บตัวอย่างดินอย่างละ 5 ซ้ำ ผล การวิเคราะห์พบว่าในดินเนื้อหยาบมีการกระจาย ของกลุ ่มขนาดช ่อง สม่ำเสมอกว ่าของดินเนื้อ ปานกลาง เมื่อพิจารณาความยาวนานต่อเนื่อง ของการใส่วัสดุอินทรีย์ พบว่าการใส่วัสดุอินทรีย์ ปรับปรุงดินต่อเนื่องเป็นเวลานานขึ้น ค่าดัชนีการ กระจายตัวขนาดช่องมีแนวโน้มลดลงและลู่เข้าหา ค่า 1.3 ทั้งดินบนและดินล่าง ในดินบนของดิน เนื้อปานกลาง การใส่วัสดุอินทรีย์ต่อเนื่อง 5 ปีให้ ค่าดัชนีเป็น 1.52 และในดินล่างของดินเนื้อหยาบ ให้ค่าดัชนีเป็น 1.81 ซึ่งหมายถึงดินทั้งสองเริ่มมี พัฒนาการที่ดีดินเริ่มมีโครงสร้าง การกระจายตัว ของกลุ่มขนาดช่องมีความสม่ำเสมอมากขึ้น ลด สัดส่วนช่องขนาดใหญ่ลงการใส่วัสดุอินทรีย์ปรับปรุง ดินต่อเนื่องนานต่างกัน ไม่ทำให้เส้นโค้งลักษณะ ความชื้นมีความแตกต่างกันทั้งดินบนและดินล่าง การใส่วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินอย่างต่อเนื่องทำให้ ดินเนื้อปานกลางมีปริมาณน้ำในช่วงที่เป็นประโยชน์ ต่อพืชสูงกว่าในดินเนื้อหยาบ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย