ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติดินบางประการกับความหลากชนิดของพันธุ์ไม้ ในพื้นที่ดินเค็มจัด ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

วิทยา ตรีโลเกศ
วิศวะ กุลนะ
บุปผา โตภาคงาม
สำอาง หอมชื่น

Abstract

พื้นที่ดินเค็มจัดเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อ การเกษตร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า มี ลักษณะเป็นพื้นที่โล่ง มีพืชขึ้นปกคลุมในพื้นที่น้อย และมีการกระจายของพืชเป็นหย่อมๆ รวมทั้งมี การปรากฏของคราบเกลือ วัตถุประสงค์ของการ ศึกษานี้เพื่อสำรวจชนิดพันธุ์ของพืชและศึกษาความ สัมพันธ์ของสมบัติดินบางประการกับจำนวนชนิด ของพันธุ์ไม้ โดยศึกษาในพื้นที่ดินเค็มจัดในพื้นที่ บริเวณลุ่มน้ำชี3 แห่ง คือ พื้นที่การศึกษาที่ 1 บริเวณ ต.หัวนาคำ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์พื้นที่ ศึกษาที่ 2 บริเวณ ต.หัวทะเล อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิและพื้นที่ศึกษาที่ 3 บริเวณ ต.เมืองเพีย อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ทำการวางแปลงสำรวจพืช ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร สำหรับการ สำรวจไม้พุ่ม ได้วางแปลงสำรวจแบบ stratified sampling method นับจำนวนชนิดของพันธุ์ไม้ ที่พบในแปลง และจดบันทึกรายชื่อพืช พร้อมทั้ง วัดเปอร์เซ็นต์การปกคลุมของพืชแต ่ละชนิดใน ทุกแปลงสำรวจ และเก็บตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทน ของแต่ละแปลง นำมาวิเคราะห์สมบัติของดิน บางประการ ได้แก่ ค่าการนำไฟฟ้าที่อิ่มตัวด้วยน้ำ ค่า pH เปอร์เซ็นต์ความชื้นในดิน ปริมาณโซเดียม ที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน ความหนาแน่นรวมของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน และการกระจายขนาด ของอนุภาคดิน โดยได้สำรวจทั้งฤดูฝน ในเดือน กันยายน 2554 และฤดูแล้ง ในเดือนเมษายน 2555 ในแปลงเดิมที่ตำแหน่งพิกัดเดิมไว้นำข้อมูล ที่ได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ ที่พบในแปลงกับสมบัติของดิน โดยใช้การวิเคราะห์ สหสัมพันธ์2 ตัวแปร (Bivariate Correlations) การศึกษาพบว่า พืชที่พบทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ในพื้นที่ศึกษาที่ 1 มีพืช 54 ชนิด 34 วงศ์ พื้นที่ ศึกษาที่ 2 พบพืช 55 ชนิด 36 วงศ์ และพื้นที่ ศึกษาที่ 3 พบพืช 57 ชนิด 33 วงศ์จำนวนชนิด พันธุ์ไม้ที่พบในฤดูฝนมากกว่าในฤดูแล้ง และพืชที่ มีเปอร์เซ็นต์การปกคุลมมากที่สุดได้แก่ หนามพุงดอ(Azima sarmentosa) หนามแดง (Maytenus makongensis) และขลู่ (Pluchea indica Less.) ส่วนการศึกษาด้านสมบัติดิน พบว่า ในฤดูแล้ง ค ่าการนำไฟฟ้า สัดส ่วนการกระจายขนาดของ อนุภาคทรายแป้ง (silt particle) สัดส่วนการ กระจายขนาดของอนุภาคทราย (sand particle) เปอร์เซ็นต์ความชื้นในดิน ปริมาณของโซเดียมที่ แลกเปลี่ยนได้ในดิน มีความสัมพันธ์กับจำนวน ชนิดของพันธุ์ไม้ในแปลงสำรวจอย่างมีนัยสำคัญ (P-value <0.01) และความหนาแน่นรวมของดิน มีความสัมพันธ์กับจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ในแปลงสำรวจ อย่างมีนัยสำคัญ (P-value <0.05) ปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ทางลบ ได้แก่ ค ่าการนำไฟฟ้า สัดส ่วนการกระจายขนาดของ อนุภาคทรายแป้ง (silt particle) ปริมาณ ความชื้นในดิน ปริมาณของโซเดียมที่แลกเปลี่ยน ได้ในดิน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจำนวน ชนิดพันธุ์ไม้ทางบวก ได้แก่ สัดส่วนการกระจาย ขนาดของอนุภาคทราย (sand particle) ส่วนใน ฤดูฝนพบว่า มีเพียงสัดส่วนการกระจายขนาดของ อนุภาคทราย (sand particle) มีความสัมพันธ์ ทางบวกกับจำนวนชนิดพันธุ์ และปริมาณโซเดียม ที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน และค่า pH มีความสัมพันธ์ ทางลบกับจำนวนชนิดพันธุ์ที่พบในแปลงสำรวจ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย