แนวทางผ่าทางตันของปุ๋ยชีวภาพ

Main Article Content

อำนาจ สุวรรณฤทธิ์

Abstract

นักวิชาการทราบกันมาราวครึ่งศตวรรษ แล้วว่าปุ๋ยชีวภาพมีศักยภาพสูง และส่วนใหญ่มี ต้นทุนการใช้ต่ำ แต่ทำไมเกษตรกรทั้งในประเทศ ไทยและในต่างประเทศ ไม่นำไปใช้ในการผลิตพืช กันกว้างขวางเท่าที่ควร เมื่อ 20-30 ปีก่อน วิศวกร รายหนึ่งสนใจที่จะผลิตปุ๋ยชีวภาพจำหน่าย (เพราะ ว่า ณ เวลานั้น กระแสความศรัทธาในปุ๋ยชีวภาพ แรงมาก) มาขอคำปรึกษาผู้เขียนว่าเขาควรจะทำ ปุ๋ยชีวภาพขายไหม ผู้เขียนได้ให้ความเห็นว่า ไม่ แนะนำให้ทำ พร้อมอธิบายว่าเพราะ (ณ เวลาที่มา ขอคำปรึกษา) กิจการผลิตปุ๋ยชีวภาพที่เหมาะสม ในแง่ผู้ผลิตคือกิจการที่ทำในแบบ “ตีหัวเข้าบ้าน” เหตุผลที่ให้คำแนะนำดังกล่าว คือ ปุ๋ยชีวภาพมีปัจจัยและสภาพที่เป็นเงื่อนไข หลายประการที่จะทำให้การใช้ปุ๋ยได้ผลดีตัวอย่าง ปัจจัยและสภาพที่เป็นเงื่อนไขที่นักวิชาการทราบ แล้ว คือ (ก) ดินต้องไม ่มีจุลินทรีย์ชนิดเดียวกับ จุลินทรีย์ที่ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพจำนวนมาก เช่น ใน กรณีปุ๋ยชีวภาพเอไมคอร์ไรซา ดินต้องไม่มีเชื้อรา เอไมคอร์ไรซา หรือมีอยู่ไม่มาก ถึงระดับที่จะทำ ให้การใส่เชื้อราเอไมคอร์ไรซาที่มีประสิทธิภาพสูง ไม่แสดงผลดี (ข) สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต ่อการเจริญ เติบโตและกิจกรรมของจุลินทรีย์ในปุ๋ยชีวภาพนั้น หรือไม่ เช่น ดินมีฟอสฟอรัสมากเกินไปหรือไม่ ใน กรณีปุ๋ยชีวภาพเอไมคอร์ไรซา ดินมีไนโตรเจนมาก เกินไปหรือไม่ ในกรณีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน และจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนแบบอิสระ (ค) ดินมีธาตุอาหารอื่นๆ ที่นอกเหนือจาก ธาตุที่จุลินทรีย์ในปุ๋ยจะช่วยเพิ่มให้แก่พืชเพียงพอ หรือไม่ เช่น ดินมีธาตุอาหารไม่ใช่ไนโตรเจนมาก พอหรือไม่ในกรณีปุ๋ยชีวภาพที่ตรึงไนโตรเจน และ (ง) ใช้ปุ๋ยชีวภาพนั้นซ้ำในที่เดิม ให้ผล คุ้มค่าหรือไม่ เช่น เมื่อมีการใช้ปุ๋ยชีวภาพแบคทีเรีย ตรึงไนโตรเจนแบบอิสระแล้วการใช้ซ้ำในฤดูถัดไป จะให้ผลคุ้มค่าหรือไม่

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย