การตอบสนองของอ้อยต่อ FGD ยิปซัมในดินที่ขาดแคลน Ca และ S

Main Article Content

ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร
สมชาย องค์ประเสริฐ
จีราภรณ์ อินทสาร
จักรพงษ์ ไชยวงศ
วันวิสาข์ จันทิกา

Abstract

FGD ยิปซัม (Fuel Gas Desulfurization Gypsum) เป็นผลพลอยได้ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ มีCa และ S อยู่ประมาณ 23 และ 18 % และ มีราคาเพียงตันละ 20 บาท จึงเหมาะที่จะใช้ เป็นวัสดุปรับปรุงดินเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน ธาตุทั้ง 2 นี้การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การตอบสนองของอ้อยต่อการใช้ FGD ยิปซัม และผลกระทบของการใช้ FGD ยิปซัมต่อความ อุดมสมบูรณ์ของดินในดินที่ขาดแคลน Ca และ S ทั้งนี้โดยเปรียบเทียบกับการใช้ปูนโดโลไมต์ การทดลองนี้ดำเนินการในไร่นาของเกษตรกร 2 รายในพื้นที่จังหวัดลำปางที่มีเนื้อดินร ่วนทราย และร่วนเหนียว เป็นกรด ขาด Ca และ S โดย ใส่ FGD ยิปซัมอัตรา 0.5 และ 1.0 ตัน/ไร่ ในดินร่วนทราย และ 1.0 และ 2.0 ตัน/ไร่ ในดิน ร่วนเหนียว เปรียบเทียบกับการใส่โดโลไมต์ตาม ความต้องการปูนและการใส่ผสม ทั้งหมดนี้ใส่เพียง ครั้งเดียวเมื่อก่อนปลูกอ้อยในปีแรก แล้วติดตาม การเติบโตและผลผลิตต่อเนื่อง 3 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2556-2558 พบว่าการใส่ FGD ยิปซัมทั้ง 2 อัตราไม่ทำให้ pH ของดินเปลี่ยนแปลง แต่การ ใส่โดโลไมต์และการใส่ยิปซัมผสมโดโลไมต์ทำให้ pH เพิ่มขึ้นในทุกชั้นความลึก การใส่ยิปซัมทั้ง แบบเดี่ยวและใส่ผสม ทำให้ Ca และ S เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการใส ่อัตราสูงทำให้เพิ่มขึ้นอย ่าง ชัดเจนทุกชั้นความลึกสำหรับดินร่วนทราย และถึง ความลึก 30 และ 45 ซม. ขณะที่การใส่โดโลไมต์ ทำให้ Ca เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน แต่ไม่ทำให้ S เพิ่มขึ้นในดินร่วนเหนียว ผลวิเคราะห์ธาตุอาหาร ในใบอ้อยแสดงให้เห็นว่า การได้รับยิปซัมทั้ง 2 อัตราและได้รับแบบผสม ทำให้ S ในใบเพิ่มขึ้น ในดินทั้ง 2 เนื้อดิน ส่วน N และ K เพิ่มขึ้นเมื่อ อ้อยปลูกในดินร่วนทราย ขณะที่ในดินร่วนเหนียว เพิ่มขึ้นเฉพาะเมื่อได้รับยิปซัมอัตราสูงเท ่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่า การได้รับยิปซัมทำให้ Mg ในใบเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับอัตราสูงในดินทั้ง 2 เนื้อดิน ส่วน Ca เพิ่มขึ้นเฉพาะเมื่อได้รับการผสมกับ โดโลไมต์ในดินร่วนทรายเท่านั้น สำหรับการใส่ โดโลไมต์มีผลให้ปริมาณธาตุอาหารต ่างๆ ในใบ เพิ่มขึ้นไม ่ชัดเจนเท ่าการใส ่ยิปซัม นอกจาก นี้ผลการวิเคราะห์ P K และ Ca ในดินและพืช แสดงว่าในการทดลองนี้ไม่มีปัญหาความไม่สมดุล ระหว่าง Ca ที่ได้รับครั้งเดียวจำนวนมาก กับ P K และ Mg จากการวัดความหนาแน่น ของราก พบว่าการใส่ FGD ยิปซัมทำให้ราก ที่ความลึก20-40ซม. หนาแน่นขึ้นในทั้ง2เนื้อดิน ผลผลิตอ้อยที่ได้รับยิปซัมทั้ง 2 อัตรา มากกว่า แปลงควบคุมอย่างชัดเจนในปีที่ 2 และ 3 ของ การทดลอง โดยเฉพาะในดินร่วนทราย และมี แนวโน้มมากกว่าที่ได้รับโดโลไมต์ ความหวานและ ปริมาณน้ำตาลในอ้อย (TCS) ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อ ได้รับยิปซัมและโดโลไมต์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย