ทำไมน้ำท่วมภาคใต้ครั้งนี้จึงรุนแรงและทำความเสียหายมาก และแนวทางการแก้ไขบรรเทา

Main Article Content

สมเจตน์ จันทวัฒน์

Abstract

่านผู้อ ่านส ่วนมากคงได้เห็นภาพข ่าว ทางโทรทัศน์ทุกช ่องได้รายงานความรุนแรงของ น้ำท่วมและก่อให้เกิดความเสียหายมากมหาศาล ซึ่งเกิดขึ้นช่วงกลางเดือนธันวาคม 2559 และ มกราคม 2560 ประชาชนได้รับผลกระทบ 1.8 ล้านคน บ้านเรือนเสียหาย 580,000 หลัง สถานที่ ราชการเสียหาย 20 แห่ง ถนนเสียหาย 592 สาย และสะพานเสียหาย 1,135 สะพาน มีผู้เสียชีวิต 91 คน และสูญหาย 4 คน และธนาคารทหารไทย ได้ประเมินความเสียหายด้านธุรกิจเป็นมูลค ่า 27,400 ล้านบาท ซึ่งเกิดขึ้นใน 12 จังหวัดภาคใต้ 119 อำเภอ และ 5,244 หมู่บ้าน นอกจากนี้ โรงเรียน วัด มัสยิด พื้นที่เพาะปลูก ปศุสัตว์ ประมง เสียหายเป็นจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบ กับ พ.ศ. 2531 มีความเสียหายมากกว ่ามาก ท ่านผู้อ ่านคงสงสัยว ่าทำไมน้ำท ่วมครั้งนี้จึงได้ รุนแรงมากและเกิดขึ้นได้อย่างไร ผู้เขียนจึงใคร่ ขออธิบายคำถามนี้ในฐานะผู้มีความรู้และ ประสบการณ์ด้านทรัพยากรที่ดิน และใคร่ขอตอบ ว่าการที่น้ำท่วมภาคใต้ครั้งนี้รุนแรงและก่อให้เกิด ความเสียหายมากมหาศาลนี้เป็นผลตามมา (consequence)ของ“การพัฒนาและการจัดการ ที่ดินเลว” (poor land development and management) ซึ่งเกิดจากการพัฒนาที่ไม ่มี การวางแผน (unplanned development) ทำให้ผลที่เกิดตามมาจากการพัฒนาและการ จัดการที่ดินเลว ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจสังคม ระบบนิเวศ และทรัพยากร ธรรมชาติ รวมทั้งระบบนิเวศต่างๆ ที่อยู่ติดกับ ที่ดิน และทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่ม แม่น้ำได้รับความเดือดร้อนมากมาย ทั้งนี้ เพราะ การพัฒนาที่ดินทุกประเภทเป็นการเปลี่ยนแปลง สิ่งปกคลุมที่ดิน (land cover) มีผลกระทบต่อ ภูมิอากาศของภูมิภาค (regional climate) ก่อ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลพลังงานที่ผิวพื้นโลก (surface energy balance) และสมดุลน้ำ (water balance) ท่านที่อยากทราบรายละเอียด โปรดอ่านได้จากการรายงานของ foley และคณะ (2005) นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ ผิวที่ดิน (land surface) เช่น การปลูกพืชเกษตร การปลูกป่า การพัฒนาเป็นเมือง และการพัฒนา ที่ดินอื่นๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวงจรต่างๆ ทางชีวธรณีเคมี (biogeochemical cycles) และการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของผิวดินทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของระบบโลก (earth system) ท่านที่อยากทราบรายละเอียดโปรดอ่าน ได้จากการรายงานของ Vitousek et al., 1997 ดังนั้นการพัฒนาที่ดินและการจัดการดินที่ดี ต้อง ทำให้กระบวนการต่างๆ ของธรรมชาติเกิดการ เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ซึ่งผู้ทำการพัฒนาที่ดินต้องีความเข้าใจอย ่างลึกซึ้งถึงกระบวนการสมดุล พลังงานที่ผิวดินและสมดุลน้ำ สิ่งสำคัญที่สุด ท่านผู้อ่านต้องจำไว้เสมอว่า พื้นที่ทุกตารางเมตร ในพื้นที่ลุ่มน้ำ ไม่สามารถทำการพัฒนาที่ดินได้ เพราะว่าถ้าหากทำการพัฒนาแล้วทำให้เกิดปัญหา ต่างๆ ตามมาและแก้ไขได้ยาก หรือไม่อาจแก้ไข ได้เลย โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งว่องไวต่อสิ่งแวดล้อม (environmental sensitive area) เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ (wet land) พื้นที่ริมชายฝั่งน้ำของแม่น้ำ ลำธาร หนอง บึง ทะเลสาบ (riparian area) เพราะว่า พื้นที่ดังกล ่าวนี้มีความสำคัญมากต ่อระบบนิเวศ อื่นๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำนั้น เนื่องจากมีข้อจำกัดของ เนื้อที่กระดาษ จึงไม่สามารถอธิบายความสำคัญ ของพื้นที่ดังกล่าวทางด้านนิเวศวิทยาได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย