การติดตามการเปลี่ยนแปลงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

Main Article Content

วัชรี แซ่ตั้ง
วิทยา ตรีโลเกศ

Abstract

ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ ที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ผลผลิต ที่ได้ต่ำมาก เมื่อเทียบกับข้าวที่ปลูกในภูมิภาคอื่น ซึ่งข้อมูลความอุดมสมบูรณ์ของดินมีความสำคัญ มากต่อการเพิ่มผลผลิตข้าว ดังนั้นการติดตาม การเปลี่ยนแปลงความอุดมสมบูรณ์ของดินจึงเป็น สิ่งจำเป็นเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุง ประสิทธิภาพการผลิตข้าวหอมมะลิ ให้เป็นพื้นที่ ที่มีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตข้าวในเขตพื้นที่ ทุ่งกุลาร้องไห้ต่อไป การประเมินความอุดมสมบูรณ์ ของดินจะใช้วิธีการประเมินของกองสำรวจดิน (2523) โดยจะพิจารณาสมบัติทางเคมีของดิน 5 ประการ ได้แก่ อินทรียวัตถุ ความจุแลกเปลี่ยน แคตไอออน ร้อยละความอิ่มตัวเบส ฟอสฟอรัส ที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระดับความ อุดมสมบูรณ์ของดิน จากการศึกษาในปี พ.ศ. 2546 พื้นที่ส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง 51.23 เปอร์เซ็นต์ และความอุดมสมบูรณ์ต่ำ 37.95 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ส่วนผล การศึกษาในปี พ.ศ. 2560 พบว่าความอุดมสมบูรณ์ ของดินในพื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับความอุดมสมบูรณ์ ต่ำ 84.86 เปอร์เซ็นต์ และความอุดมสมบูรณ์ ปานกลาง 0.50 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าความอุดมสมบูรณ์ของดิน ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ มีความอุดมสมบูรณ์ลดลง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากดินมีร้อยละความอิ่มตัวเบส ลดลง และพบว่าสมบัติดินบางประการที่มีผลทำให้ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ได้แก่ อินทรียวัตถุ ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน ฟอสฟอรัสที่เป็น ประโยชน์ และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน ดังนั้นผลการศึกษานี้จึงมีข้อเสนอแนะให้เกษตรกร ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้มีการใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักในปริมาณที่สูงอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการ ใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม เพื่อเป็นการ ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่ม ความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินและเพื่อเพิ่มผลผลิต พืช ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถจัดเก็บข้อมูลระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้เป็น ฐานข้อมูลเบื้องต้นในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงความอุดมสมบูรณ์ ของดิน และประยุกต์ใช้ข้อมูลดังกล่าวในการแบ่ง เขตการผลิตข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย