การสลายตัวของวัสดุอินทรีย์ การปลดปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ และปริมาณอินทรีย์คาร์บอน ในดินเค็มเนื้อทราย ภายใต้การใส่วัสดุอินทรีย์ต่างชนิดกัน
Main Article Content
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล การใช้วัสดุอินทรีย์ที่มีองค์ประกอบทางเคมีต่างกัน ต่อการสลายตัวการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในนาดินเค็มเนื้อทราย บ้านงิ้วเก่า ตำบลโนนประดู่ อำเภอสีดา จังหวัด นครราชสีมา วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 6 กรรมวิธี การทดลอง โดยใช้วัสดุอินทรีย์ที่หาได้ในท้องถิ่น ได้แก่ ไม่ใส่วัสดุอินทรีย์ (ตำรับควบคุม) ซาก ถั่วลิสง ใบหญ้าแฝก ฟางข้าว ใบยูคาลิปตัส และ แกลบ ใส่ในอัตรา 2 t rai-1 ผลการศึกษาอัตรา การสลายตัวพบว่า อัตราการสลายตัวเกิดขึ้นเร็ว ในช่วงแรก โดยใบหญ้าแฝกมีอัตราการสลายตัว มากสุด และแกลบมีอัตราการสลายตัวต่ำสุด ผล การศึกษาการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) เกิดขึ้นสูงสุดในสัปดาห์ที่ 1 โดยมีการ ปลดปล่อยสูงสุดในดินที่ใส่ซากถั่วลิสง ในขณะที่ ดินที่ไม่มีวัสดุอินทรีย์มีการปลดปล่อยก๊าช CO2 ต่ำสุดตลอด 26 สัปดาห์ นอกจากนี้ พบว่าการ ปลดปล่อยก๊าช CO 2 มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ความชื้นดินโดยเฉพาะช่วง 8 สัปดาห์แรกของ การสลายตัว (r= 0.36-0.89) ดินที่ใส่ยูคาลิปตัส มีปริมาณคาร์บอนอินทรีย์สูงสุด รองลงมาคือ ใบหญ้าแฝก ฟางข้าว ซากถั่วลิสง ส่วนดินที่ใส่ แกลบมีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนต�่ำสุด และพบ ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอินทรีย์คาร์บอน ในดินกับองค์ประกอบทางเคมีของวัสดุอินทรีย์ โดยเฉพาะคาร์บอน (r = 0.69**) และเซลลูโลส (r = -0.65**) นอกจากนี้ ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน ในดินยังมีความสัมพันธ์ทางลบกับปริมาณการ ปลดปล่อยก๊าช CO 2 ที่สูง ส่งผลท�ำให้มีปริมาณ อินทรีย์คาร์บอนสะสมในดินต�่ำ โดยเฉพาะสัปดาห์ ที่ 8-26