พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ ของเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่ภาคตะวันออก |Behavioral the Participation of Parents in the Promotion of Early Childhood Learningthe Child Development Center Eastern Region

Main Article Content

ชนม์ธิดา ยาแก้ว ยาแก้ว
รวี ศิริปริชยากร
จิราภรณ์ ยกอินทร์
อารีย์ พรหมเล็ก
อัญชิษฐา ปิยะจิตติ

Abstract

            The objective of this research is to study the behavior of the participation of parents in promoting early childhood learning at the child development center in Eastern region by Epstein’s concept which is divided into 6 domains: 1) parenting2) communicating3) volunteering4) learning at home5) decision making and 6) collaborating with community. The samples of the study were 395 parents in the child development center in Eastern Region. A constructed questionnaire was used as a tool to collect data. The data were analyzed by descriptive statistics including percentage, mean, and standard deviation.


            The result showed that the overall behavior of the participation of parents in promoting early childhood learning at the child development center in Eastern region was in medium participation.  When considering each domain, parenting was the highest participation, whereas others were in medium participation.


      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่ภาคตะวันออก ตามกรอบทฤษฎีของEpstein โดยแบ่งการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของโรงเรียนออกเป็น  6 ด้าน ประกอบด้วยการอบรมเลี้ยงดูเด็ก (Parenting) การติดต่อสื่อสาร (Communicating) การอาสาสมัคร (Volunteering) การเรียนรู้ที่บ้าน (Learning at Home) การตัดสินใจ (Decision Making) และการมีส่วนร่วมกับชุมชน (Collaborating with Community) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน395 คน โดยใช้วิธีกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จของทาโร่ ยามาเน่เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง (Parent Involvement) ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


       ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่ภาคตะวันออก ในภาพรวมพบว่า พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองอยู่ในระดับปาน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย