ระบบติดตามการดำเนินงานการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี |Kanchanaburi Rajabhat University Quality Assurance Tracking System

Main Article Content

บัณฑิต ปานโศก
นิษฐา ไตรเดชา

Abstract

      การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบติดตามการดำเนินงานการประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบติดตามการดำเนินงานการประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และ 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบติดตามการดำเนินงานการประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยได้พัฒนาระบบขึ้นในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) และได้นำทฤษฎีของวงจรการพัฒนาระบบ (The Systems Development Life Cycle: SDLC) มาใช้เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ระบบติดตามการดำเนินงานการประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีที่ได้พัฒนาขึ้น แบบสอบถามเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบติดตามการดำเนินงานการประกันคุณภาพที่ประเมินโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบและแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของการใช้งานระบบติดตามการดำเนินงานการประกันคุณภาพที่ประเมินโดยบุคลากรที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา ระบบสารสนเทศนี้แบ่งกลุ่มผู้ใช้งานเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และผู้ดูแลระบบ ผลการวิจัยพบว่า1) ระบบติดตามการดำเนินงานการประกันคุณภาพที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้งานได้จริง 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบติดตามการดำเนินงานการประกันคุณภาพ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก คือมีค่าเฉลี่ยทางคณิตเท่ากับ 4.29 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารในการใช้งานระบบอยู่ในระดับมาก คือ ค่าเฉลี่ยทางคณิตเท่ากับ 4.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.45และผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาในการใช้งานระบบอยู่ในระดับมาก คือ ค่าเฉลี่ยทางคณิตเท่ากับ 4.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.63


       The present study aimed at 1) developing the Kanchanaburi Rajabhat University Quality Assurance Tracking System (QATS), 2) conducting a performance assessment of QATS, and 3) measuring user satisfaction towards the QATS. The developed system was created based on the Systems Development Life Cycle (SDLC). This study adopted two questionnaires assessing the QATS performance conducted by specialists and measuring user satisfaction among quality assurance (QA) officers, as research instruments. Generally, there were three groups of QATS users including executive committees, QA officers, and system administrators. The findings showed that 1) the QATS could function effectively, 2) the performance assessment of QATS was shown as high, at the average of 4.29 (SD = 0.47), and 3) the overall measurement of user satisfaction was shown as high, at the average of 4.30 (SD = 0.45) by executive committees, and at the average of 4.30 (SD = 0.63) by QA officers.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย