แนวคิดและเทคนิคการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงไทยลูกทุ่ง : สมาน แตงวงศ์ ครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน|Concepts and Techniques for arranging Thai country songs: Saman Taengwong, the valuable teacher of the country

Main Article Content

ยศพนธ์ นิตย์แสวง
สานิตย์ รัศมี
ปรีชา นวมนาม
สุชาติ จันทรสุกรี
นวพล ใจงาม

Abstract

การวิจัยเรื่อง แนวคิดและเทคนิคการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงไทยลูกทุ่งของสมาน แตงวงศ์ ครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาประวัติและผลงานของสมาน แตงวงศ์ 2) ศึกษาแนวคิดและเทคนิคการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงไทยลูกทุ่งที่บรรเลงด้วยวงลูกทุ่งขนาดใหญ่ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยกระบวนการศึกษาทางดนตรีชาติพันธุ์วิทยา และการวิเคราะห์ทางดุริยางควิทยา การสุ่มตัวอย่างบทเพลงใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 1 เพลง จากบทเพลงที่ สมาน แตงวงศ์ ที่เรียบเรียงไว้ตั้งแต่ ปี 2550-2560


ผลการวิจัย พบว่า



  1. สมาน แตงวงศ์ จบปริญญาตรี (กศ.บ.) วิชาเอกดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) เริ่มเล่นดนตรีสากลขณะเรียนชั้นมัธยมต้น ตำแหน่งคลาริเน็ตในวงโยธวาทิตของโรงเรียนกรรณ-สูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี มีความสามารถอ่านโน้ตสากลได้ทั้งกุญแจซอลและกุญแจฟาได้อย่างดี สามารถบทเพลงทุกชนิดโดยเฉพาะเพลงไทยเดิมได้มากกว่า 300 เพลง เป็นนักดนตรีประจำวงดนตรีเฟื่องฟ้า, วงชงโค, วงดนตรีมังคลาภรณ์ ตำแหน่งแซกโซโฟน และเป็นนักดนตรีอาชีพในไนต์คลับต่าง ๆ ทั้งในจังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสมุทรสาคร ทั้งยังเป็นผู้ควบคุมวงและเป็นนักดนตรีบรรเลงแบ็กอัป (Back up) ให้กับศิลปินดัง ๆ อาทิ ยอดรัก สลักใจ, บุษบา อธิฐาน, ทิพวรรณ แก้วจันทร์, อัศวิน ศรีทอง และนักร้องในสังกัดค่ายนพพรโปรโมชั่น และได้รับตำแหน่งครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน จากกระทรวงศึกษาธิการในปี พ.ศ. 2560

  2. แนวคิดการเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีเพลงไทยลูกทุ่งที่บรรเลงด้วยวงลูกทุ่งขนาดใหญ่นั้น


สมาน แตงวงศ์ มีแนวคิดและเทคนิคในการเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อใช้ในการแข่งขันโดยจะศึกษาถึงจุดมุ่งหมายของงานที่แสดง รูปแบบและขนาดวงดนตรี แนวคิดในการเรียบเรียบเสียงประสานท่อนนำ ท่อนขับร้อง ท่อนบรรเลงเดี่ยวและท่อนจบ ขึ้นอยู่กับความสามารถของนักร้อง นักดนตรี โดยหากเป็นโน้ตเขบ็ต 2 ชั้น ที่บรรเลงจังหวะเร็ว ควรใช้การประสานเสียงแบบเสียงเดียวกัน ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดนตรีที่บรรเลงแนวเดียวกับทำนองการขับร้อง เลือกใช้คอร์ดจากโครงสร้างเดิมของเพลง หากมีคีย์บอร์ดหรือกีตาร์อย่างละ 2 ตัว ควรบรรเลงโดยไม่ให้ซ้ำแนวกัน แนวคิดการจัดรูปแบบวงดนตรีขนาดใหญ่ มี 2 รูปแบบ คือวง 4 x 4 และวง 5 x 7 เทคนิคการเรียบเรียงประสานเสียงควรระวังการใช้แนวทำนองหลักซึ่งไม่ควรบรรเลงโดยอัลโตแซกโซโฟน แต่ควรบรรเลงโดยทรัมเป็ตเนื่องจากจะมีความชัดเจนของเสียงมากกว่า


 


Our aims of this paper were 1) to study the biography and works of Saman Taengwong and  2) to study arranging and techniques used in Thai country songs performed by big country song bands using quantitative research methods. Ethnomusicology research methods and musicology analyses were used in this study. It was found that. A song was purposively chosen as the sample from the songs composed by Saman Taengwong during 2007-2017.



  1. Saman Taengwong got a bachelor’s degree in education with musicology as his major from Srinakharinwirot University, Prasarnmit campus. As a middle school student, he began playing clarinet in Kannasut Suksalai school’s military band Suphanburi Province. He could read notation both on the treble clef and the bass clef very well, and could perform all kinds of music, especially more than three hundred complex Thai traditional songs. He was a saxophonist in Fueang Fa band, Chong kho band, Magalabhorn band, and he was a musician in many nightclubs in Nakhon Pathom, Ratchaburi, Samutsakhon. He was the conductor and a backup musician for many singers; Yotrak Salakchai, Butsaba Athitthan, Thipphawan Kaeochan, Atsawin Sithong, and the singers in Nopphon Promotion production house. He was titled as “khru phu song khun kha haeng phaen din” (a valuable teacher of the country) by the Ministry of Education in 2017.

  2. Saman Taengwong believes that to arrange Thai country songs for competition, the purpose of the competition and the size of the band should be considered. Each part of a song, introduction, solo phrase, and outtro should be arranged according to the performance of singers and musicians. In the phrase with eighth notes and fast tempo, the harmonization should be unison. Musicians should avoid playing the same melody as the singing. Musicians should use chords within those from the original version of the song. If there are two keyboards or two guitars in the band, the two instruments should not play in unison. There are two forms of big bands: 4x4 form and 5x7 form. The main melody should not be played by an alto saxophone but by a trumpet for a clearer sound.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

Nadee, A. (2010). Analysis of Musical Arrangement by Wijit Jitrangsan. [Master’s Thesis, Mahidol University]
Chenoweth. V. (1974). Melodic Perception and analysis (2 ed.). Papua New Ruinea: The
S.I.L.Printing Department.
Kerdpol, T. (2014). An Analysis of the Musical Arrangement of Song of Honor: Symphonic Band by Wijit Jitrangsan. Journal of Fine and Applied Arts, Khon Kaen University, 6(1), 89–111.
Khotsombat, J. (1996). Analysis of Music Arrangement of Khiti Khitakon in The Musical Compositions of His Majesty King Bhumibol Adulyadej. [Master’s Thesis: Srinakharinwirot University.]
Khunsongkram, T. (2016). Prayong Chuenyen, a National Artist, Musical ConceptIn Thai Country Music Arrangement. Journal of Research and Development, Buriram Rajabhat University, 11, 54-62.
Pancharoen,N. (2013). Counterpoint. 4th ed. Bangkok: Tana Press. [translated]
Prasopsuk, N. (1990). Arrangement for an Orchestra. Bangkok: Chulalongkorn University.
Piston, W. (1990). Orchestration. London. Victor Gollancz.
Putsaro, S. (2021). A Study of Contemporary Music: Case Study of Still on my Mind (Banleng Pleng Fah) by Chaibhuk Bhutrachinda. [Master’s Thesis: Srinakharinwirot University].

Most read articles by the same author(s)