รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษา, การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมตามแนวคิดการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และ 2) สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม ดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมตามแนวคิดการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ด้วยการวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Modified Priority Needs Index, PNImodified) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 84 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNImodified และขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม ด้วยการสนทนากลุ่มเพื่อพิจารณาความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุมในการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการการศึกษาของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมไปใช้ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้หรือประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน โดยใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม 3 อันดับแรก คือ 1) ครูและบุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วมในการปรับปรุงวิธีการทำงานใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น 2) ผู้บริหารมอบอำนาจการควบคุมให้กับทีมงาน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจในการทำงานอย่างเต็มที่เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ 3) บุคลากรในโรงเรียนนำแผนการควบคุมและบริหารความเสี่ยงไปใช้ในการปฏิบัติงาน 2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการการศึกษาของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ แนวคิดและหลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ระบบงานและกลไก กระบวนการดำเนินงาน การวัดและประเมินผล และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Getzels, J. W., & Guba, E. G. (1975). Social behavior and the administrative. The School Review, 65(12),
–441.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Educational administration: Theory, research and practice. McGraw-
Hill International.
Nurin, K. (2019). School-based management. Journal of the Association for the Development of
Educational Administration Profession of Thailand, 32(2), 33–39.
Office of the National Education Commission. (2019). National Education Act B.E. 2542 and amendments
(4th edition) B.E. 2562. Office of the Prime Minister.
Phengsawat, W. (2010). Applied statistics for social science research. Suviriyasarn.
Sankhumpim, P. (2015). School-based management of school administrators and the basic education
standards of schools under the Office of Ratchaburi Primary Educational Service Area 1 (Master’s
thesis, Silpakorn University).
Sidaeng, W. (2019). School-based management of Huai Krajao Phitthayakhom School under the
Secondary Educational Service Area Office 8 (Independent study, Silpakorn University).
Thamakavitthayakom School. (2023). School self-assessment report (academic year 2022).
Thamakavitthayakom School. [Unpublished internal document].
Wongwanich, S. (2007). Research on needs assessment. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Wilson, R. J. (2001). School-based management in Alberta: Perceptions of Public School Leaders, 1994–
(Ed.D. dissertation, University of San Diego).
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2025 วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.