Exchange Rate Policy and Trade Balance Problems in Thailand นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนกับปัญหาดุลการค้าในประเทศไทย

Main Article Content

Apinya Wanaset

Abstract

บทคัดย่อ


         วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและดุลการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้เงื่อนไขมาร์แชลล์-เลอร์เนอร์ สำหรับวิธีการศึกษาประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้การทดสอบความนิ่งของข้อมูล และการวิเคราะห์สมการถดถอย โดยแบ่งการวิเคราะห์เป็น 2 กรณี คือ ภาพรวมตลาดโลกใช้ข้อมูลรายปีจาก จาก ค.ศ. 1990-2019 ตัวแปรประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของโลก (World GDP) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สรอ. มูลค่านำเข้า-ส่งออกของไทย และการศึกษาประเทศคู่ค้า ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยใช้ข้อมูลรายไตรมาส จาก ค.ศ. 1997-2019 จำนวน 86 ไตรมาส ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา มูลค่าการส่งออกของไทยไปประเทศจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา มูลค่าการนำเข้าจากจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ สรอ.


         ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและดุลการค้าระหว่างประเทศ กรณีภาพรวมตลาดโลกอยู่ภายใต้เงื่อนไขมาร์แชลล์-เลอร์เนอร์ นั่นคือผลรวมของความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาของการนำเข้าและส่งออกมีค่า > 1 ส่วนกรณีประเทศคู่ค้านั้นพบว่าอัตราแลกเปลี่ยนไม่ส่งผลต่อความต้องการนำเข้าอย่างมีนัยสำคัญทั้งสามประเทศ เนื่องจากสินค้านำเข้าจากทั้ง 3 ประเทศนี้ส่วนหนึ่งเป็นสินค้าทุนและบางรายการนำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก การเปลี่ยนแปลงของดุลการค้าขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่อัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้อัตราแลกเปลี่ยนส่งผลต่อการส่งออกสินค้าของไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น แต่กลับไม่ส่งผลต่อการส่งออกสินค้าไทยไปจีนอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาเงื่อนไข มาร์แชลล์-เลอร์เนอร์ พบว่ามีเพียงกรณีของการค้าไทย-ญี่ปุ่น ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขนี้ กล่าวคือ ผลรวมของความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาของการนำเข้าและส่งออก > 1 เพราะค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์การส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นสูงเท่ากับ 1.677 ดังนั้นเงื่อนมาร์แชลล์-เลอร์เนอร์จึงเป็นจริงเพียงบางส่วน


คำสำคัญ: อัตราแลกเปลี่ยน ดุลการค้า เงื่อนไขมาร์แชลล์-เลอร์เนอร์


ABSTRACT


         The objectives of this study were to study the relationship between exchange rate and international trade balance under Marshall-Lerner condition.  The study employed descriptive and quantitative analyses.  For quantitative analysis, unit root test and regression analysis were adopted as tools of this study.  An analysis was divided into two cases: First, global market is based on annual data from 1990-2019 including world gross domestic product (World GDP), Thai GDP, exchange rate of baht to US dollar, Thai import and export. Second, the trading partners are China, US and Japan, using 86 quarterly data from 1997-2019 including the GDP of Thailand, China, Japan and US together with value of Thai exports to China, Japan and US, value of imports from China, Japan and US, exchange rate of baht to US dollar.


         The results showed that the relationship between exchange rates and international trade balance, Marshall-Lerner conditions hold in the global market case.  That is, sum of the price elasticity of imports and exports is > 1. In the case of trading partners, exchange rate did not significantly affecting on import demand of the three countries. As the products imported from these countries were partly capital goods and some were imported for export.  Changes in trade balance depend on other factors than exchange rates. At the same time, it was found that exchange rate affected on Thai exports to the US and Japan except for China. However, considering the conditions Marshall-Lerner, it was found that only a case of Thai-Japanese trade hold under this condition due to the sum of import and export demand-price elasticity > 1. Because the elasticity of Thailand's export demand to Japan is high, 1.677.


Keywords: Exchange Rate, Trade Balance, Marshall-Lerner Condition


เอกสารอ้างอิง (References)


ธนาคารแห่งประเทศไทย (2561). ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนต่อเศรษฐกิจไทย. รายงานนโยบายการเงิน. มิถุนายน.


ธนาคารแห่งประเทศไทย (2563). 4 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าเงินบาทกับการส่งออก. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/ConsumerInfo/Documents/Infographic_16Mar2019.PDF


พรายพล คุ้มทรัพย์. (2551). เศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ: ทฤษฎีและนโยบาย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.


อภิญญา วนเศรษฐ. (2559) หน่วยที่ 7 อัตราแลกเปลี่ยน ตลาดเงินตราต่างประเทศ และระบบการเงินระหว่างประเทศ. เอกสารการสอนชุดวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ หน่วยที่ 1-7 นนทบุรี: สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.


Caporale, G.M. et al. (2012). Testing the Marshall-Lerner Condition in Kenya. Economics and Finance Working Paper Series, Working Paper No. 12-22.


Dickey, D.A. and Fuller, W.A. (1979). Distribution of The Estimators for Autoregressive Time Series with A Unit Root. Journal of the American Statistical Association, vol.74, 427–431.


Dickey, D.A. and Fuller, W.A. (1981). Likelihood Ratio Statistics for Autoregressive Time Series with A Unit Root. Econometrica, 49, 1057–1072.


Dubravska, M. and Sira, E.(2015). The Analysis of The Factors Influencing The International Trade of The Slovak Republic. Procedia Economics and Finance. 15, 1210-1216.


Iqbal, J. et al. (2015). Testing for Marshall-Lerner Condition: Bilateral Trade between Pakistan and its Major Trading Partners. Forman Journal of Economic Studies, 11, 1-14.


Ogbonna, B.C. (2018). Marshall-Lerner Condition and J Curve Phenomenon: Evidence from Nigeria. Journal of Humanities and Social Science, 23(12), 77-84.


Pandey, R. (2013). Trade Elasticities and the Marshal Lerner Condition for India. Global Journal of Management and Business Studies, 3(4), 423-428.


Phillips, P. and Perron, P. (1988). Testing for a Unit Root in Time Series Regression. Biometrica. 72(2), 335-346.


Reinhart, C. M. (1994). Devaluation, relative prices, and international trade: evidence from developing countries. IMF Staff Papers, 42(2), 290-312.


Rose, A.K. (1991), The role of exchange rates in a popular model of international trade: Does the Marshall-Lerner condition hold? Journal of International Economics, 30, 301-316.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)