ศักยภาพของชุดดินต่างๆ ต่อปริมาณสารเบต้าแคโรทีนของข้าวโพดหวาน ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย ศักยภาพของชุดดินต่างๆ ต่อปริมาณสารเบต้าแคโรทีนของข้าวโพดหวาน ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ศิระประภา แก้วเรือง
ปุญญิศา ตระกูลยิ่งเจริญ
กุมุท สังขศิลา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของสมบัติและสภาพแวดล้อมของดินจากหน่วยดินต่างๆ ที่มีผลต่อปริมาณสารประกอบออกฤทธิ์เชิงชีวภาพ (เบต้าแคโรทีน) ขนาด (ความยาวฝัก) และรส (ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด) และน้ำหนักสดของข้าวโพดหวานที่ปลูกในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทยโดยเก็บตัวอย่างดินและข้าวโพดหวานจากแปลงข้าวโพดหวาน 21 แปลง ภายใต้พันธุ์ อายุเก็บเกี่ยว และการจัดการน้ำแบบ เดียวกัน วิเคราะห์สมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของ ตัวอย่างดินแบบรบกวนโครงสร้างและไม่รบกวน โครงสร้าง และจำแนกตัวอย่างดินเป็นหน่วยดิน Typic Haplustalfs with clay loam จาก 3 แปลง Typic Haplustalfs with sandy clay loam จาก 7 แปลง Typic Haplustalfs with loam จาก 3 แปลง Typic Haplustalfs with sandy loam จาก 4 แปลง Chromic Haplusterts 2 แปลง และ Typic Paleustults 2 แปลง ตัวอย่างข้าวโพดหวานอย่างละ 4 ฝัก ต่อแปลงถูกชั่งน้ำหนักสด วัดความยาวฝักปอกเปลือก วิเคราะห์ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด (TSS) และปริมาณเบต้าแคโรทีน ข้อมูล รายวันในการปลูกข้าวโพดหวานของแต่ละแปลง รวบรวมจากสถานีตรวจวัดสภาพอากาศจาก 4 สถานีในเขตภูมิภาคตะวันตก โดยเก็บข้อมูลต่ำสุดสูงสุด ค่าเฉลี่ยของปริมาณฝน อุณหภูมิ ความชื้น และความเร็วลม สำหรับจำนวนวันที่อุณหภูมิ สูงสุด สูงกว่า 30 องศาเซลเซียส กำหนดให้เป็น heat degree day และจำนวนวันที่อุณหภูมิต่ำสุด ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส กำหนดให้ เป็น chilling requirement การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทางสถิติของแต่ละปัจจัย วิเคราะห์ด้วย Duncan’s multiple range test ที่ระดับความเชื่อมั่น (α) 0.05 การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ ของคุณภาพข้าวโพดหวานกับสมบัติดินและข้อมูลสภาพอากาศด้วย Pearson’s correlation


ผลการศึกษาพบว่าปริมาณโซเดียมมีความสัมพันธ์เชิงลบกับน้ำหนักฝักสดปอกเปลือกความยาวฝักสดปอกเปลือกและของแข็งที่ละลาย ได้ทั้งหมดที่ r > -0.53 แต่สัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณเบต้าแคโรทีนที่ r = 0.43 รวมทั้ง


ปัจจัยด้านสภาพอากาศมีความสัมพันธ์กับคุณภาพข้าวโพดหวานเช่นกัน โดยพบว่า chilling requirement มีผลต่อความยาวฝักสดปอกเปลือกและของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดที่ r = 0.75 และ 0.42 ตามลำดับ และพบว่า heat degree day มีผลเชิงลบต่อความยาวฝักสดปอกเปลือก ปริมาณสารเบต้าแคโรทีนและของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดปริมาณโซเดียมและสภาพอากาศในหน่วยดิน Typic Haplustalfs with sandy clay loam และหน่วยดิน Typic Haplustalfs with loam มีผลในการผลิตข้าวโพดหวานเชิงคุณภาพในด้านสารอาหารสูงสุด สำหรับการผลิตเชิง ปริมาณข้าวโพดหวานที่ปลูกในชุดดิน Chromic Haplusterts มีน้ำหนักผลผลิตสูงสุด


 


                   This research studied the effect of soil properties and soil environmental condition on bioactive compound (beta carotene), size (length), taste (total soluble solid) and fresh weight of sweet corn. Twenty one sweet corn fields located in western Thailand were selected. Corns from those were similar in terms of their variety, age, planting period and water management (well watered). Disturbed and undisturbed soil samples were collected from those fields and analyzed for their chemical and physical properties. Their soils were classified as Typic Haplutalfs with clay loam 3 locations, Typic Haplutalfs with sandy clay loam 7 locations, Typic Haplutalfs with loam 3 locations, Typic Haplutalfs with sandy loam 4 locations, Chromic Haplusterts 2 locations and Typic Paleustults 2 locations. Four samples of sweet corn from each location were determined for their fresh weight, length, total soluble solid (TSS) and beta carotene content.  Climatic data were collected from 4 stations located in western regions. Data was complied to be daily min-max-mean rainfall, temperature, humidity and wind speed. Daily temperature of planting period was used to compute for their heat degree day (a number of day which their daily temperature were above 30°C) and chilling requirement (a number of day which their daily temperature were below 25°C). Multiple comparisons of means for each parameter were performed using Duncan’s Multiple Range Test at the significance level (α) of 0.05. Correlation analysis of sweet corn quality and soil and climatic parameters were performed using Pearson’s correlation procedure.  


                   Results showed that soil Na content had negatively correlated with fresh weight, length and TSS at r > -0.53 but positively with beta carotene content, r = 0.43. Climatic condition


also played the important role on corn quality (TSS, length and beta carotene). Chilling requirement affected length and TSS of corn at r = 0.75 and 0.42, respectively.  Heat degree day negatively impacted to length, beta carotene content and TSS.  Na content and climatic condition induce the highest bioactive compound in Typic Haplustalfs with sandy clay loam and Typic Haplustalfs with loam while Chromic Haplusterts soils presented the highest of quantity corn production.

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
บทความวิจัย