การใช้แพทโคเอฟฟิเชียนท์ตรวจสอบอิทธิพลองค์ประกอบผลผลิตต่อผลผลิตอ้อยตอ ของพันธุ์อ้อยลูกผสมจากต่างคู่ผสม Path Coefficient Analysis of the effect of Yield Components on Yield of Ratoon Cane of Sugarcane Hybrids of Different Crosses

Main Article Content

ปวิตร จันทร์หอม จันทร์หอม
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน
อภิวิชญ์ ทรงกระสินธุ์

Abstract

            การตรวจสอบอิทธิพลขององค์ประกอบผลผลิตต่อผลผลิตอ้อยตอที่ 1 ในพันธุ์อ้อยลูกผสมที่ได้จากการสุ่ม จำนวน 120 พันธุ์จาก 12 คู่ผสม โดยการวิเคราะห์แพทโคเอฟฟิเชียนท์ของพันธุ์อ้อยลูกผสมทั้งหมดของพันธุ์อ้อยลูกผสมที่มีพันธุ์แม่หรือพันธุ์พ่อเดียวกัน และของพันธุ์อ้อยจากแต่ละคู่ผสม วางแผนการทดลองแบบ RCBD 3 ซ้ำ แต่ละแปลงย่อยมี 1 แถว ยาว 1.5 เมตร มี 3 กอ ทำการเก็บข้อมูลอ้อยที่อายุ 11 เดือน ได้แก่ ผลผลิตอ้อย ความยาวลำ น้ำหนักต่อลำ จำนวนลำต่อกอ และเส้นผ่านศูนย์กลางลำ ดำเนินการปลูกที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอ้อยและน้ำตาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม จากการศึกษาเมื่อวิเคราะห์แพทโคเอฟฟิเชียนท์ของพันธุ์อ้อยลูกผสมทั้งหมด พบว่า ความยาวลำ และน้ำหนักต่อลำ มีอิทธิพลต่อผลผลิตอ้อยตอที่สูงใกล้เคียงกัน เท่ากับ 0.5195 และ 0.4164 ตามลำดับ ทั้งนี้ความยาวลำมีอิทธิพลทางตรงที่สูงเท่ากับ 0.4120 แต่น้ำหนักลำมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านความยาวลำที่สูงเท่ากับ 0.2937 ส่วนจำนวนลำต่อกอมีอิทธิพลรวมปานกลางต่อผลผลิตอ้อยตอเท่ากับ 0.2834 ซึ่งส่วนมากเป็นผลมาจากอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.2422 และในเส้นผ่านศูนย์กลางลำ พบว่ามีอิทธิพลต่อผลผลิตอ้อยที่ค่อนข้างต่ำ ทั้งอิทธิพลรวม อิทธิพลทางตรง และอิทธิพลทางอ้อม เมื่อพิจารณาค่าแพทโคเอฟฟิเชียนท์ขององค์ประกอบผลผลิตของพันธุ์อ้อยลูกผสมที่มีพันธุ์แม่เดียวกัน ซึ่งมี 4 พันธุ์ พบว่าความยาวลำเป็นองค์ประกอบผลผลิตที่มีความสำคัญที่สุด โดยมีอิทธิพลรวมสูงสุดถึง 3 ใน 4 พันธุ์ โดยในทุกพันธุ์แม่เป็นผลเนื่องจากอิทธิพลทางตรง ทั้งนี้จำนวนลำต่อกอมีความสำคัญต่อผลผลิตอ้อยตอแตกต่างกันในพันธุ์อ้อยลูกผสมที่มีพันธุ์แม่ต่างกัน เมื่อพิจารณาค่าแพทโคเอฟฟิเชียนท์ขององค์ประกอบผลผลิตของพันธุ์อ้อยลูกผสมที่มีพันธุ์พ่อเดียวกัน ซึ่งมี 5 พันธุ์ พบว่าความยาวลำยังเป็นองค์ประกอบผลผลิตที่มีความสำคัญที่สุด โดยมีอิทธิพลรวมสูงสุดถึง 4 ใน 5 พันธุ์ โดยน้ำหนักต่อลำเป็นองค์ประกอบผลผลิตที่มีความสำคัญรองลงมา เมื่อพิจารณาค่าที่วิเคราะห์ในแต่ละคู่ผสม พบว่ามีความแตกต่างกันในแต่ละคู่ผสม โดยความยาวลำมีอิทธิพลรวม และอิทธิพลทางตรงที่สูง น้ำหนักต่อลำมีอิทธิพลรวมที่สูง แต่มีอิทธิพลทางตรงปานกลาง จำนวนลำต่อกอมีอิทธิพลรวม แต่อิทธิพลทางตรงปานกลาง และเส้นผ่านศูนย์กลางลำมีอิทธิพลรวมปานกลาง แต่มีอิทธิพลทางตรงที่ต่ำ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )