การใช้แพทโคเอฟฟิเชียนท์ตรวจสอบอิทธิพลองค์ประกอบผลผลิตต่อผลผลิตอ้อยตอ ของพันธุ์อ้อยลูกผสมจากต่างคู่ผสม Path Coefficient Analysis of the effect of Yield Components on Yield of Ratoon Cane of Sugarcane Hybrids of Different Crosses

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ปวิตร จันทร์หอม จันทร์หอม
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน
อภิวิชญ์ ทรงกระสินธุ์

บทคัดย่อ

            การตรวจสอบอิทธิพลขององค์ประกอบผลผลิตต่อผลผลิตอ้อยตอที่ 1 ในพันธุ์อ้อยลูกผสมที่ได้จากการสุ่ม จำนวน 120 พันธุ์จาก 12 คู่ผสม โดยการวิเคราะห์แพทโคเอฟฟิเชียนท์ของพันธุ์อ้อยลูกผสมทั้งหมดของพันธุ์อ้อยลูกผสมที่มีพันธุ์แม่หรือพันธุ์พ่อเดียวกัน และของพันธุ์อ้อยจากแต่ละคู่ผสม วางแผนการทดลองแบบ RCBD 3 ซ้ำ แต่ละแปลงย่อยมี 1 แถว ยาว 1.5 เมตร มี 3 กอ ทำการเก็บข้อมูลอ้อยที่อายุ 11 เดือน ได้แก่ ผลผลิตอ้อย ความยาวลำ น้ำหนักต่อลำ จำนวนลำต่อกอ และเส้นผ่านศูนย์กลางลำ ดำเนินการปลูกที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอ้อยและน้ำตาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม จากการศึกษาเมื่อวิเคราะห์แพทโคเอฟฟิเชียนท์ของพันธุ์อ้อยลูกผสมทั้งหมด พบว่า ความยาวลำ และน้ำหนักต่อลำ มีอิทธิพลต่อผลผลิตอ้อยตอที่สูงใกล้เคียงกัน เท่ากับ 0.5195 และ 0.4164 ตามลำดับ ทั้งนี้ความยาวลำมีอิทธิพลทางตรงที่สูงเท่ากับ 0.4120 แต่น้ำหนักลำมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านความยาวลำที่สูงเท่ากับ 0.2937 ส่วนจำนวนลำต่อกอมีอิทธิพลรวมปานกลางต่อผลผลิตอ้อยตอเท่ากับ 0.2834 ซึ่งส่วนมากเป็นผลมาจากอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.2422 และในเส้นผ่านศูนย์กลางลำ พบว่ามีอิทธิพลต่อผลผลิตอ้อยที่ค่อนข้างต่ำ ทั้งอิทธิพลรวม อิทธิพลทางตรง และอิทธิพลทางอ้อม เมื่อพิจารณาค่าแพทโคเอฟฟิเชียนท์ขององค์ประกอบผลผลิตของพันธุ์อ้อยลูกผสมที่มีพันธุ์แม่เดียวกัน ซึ่งมี 4 พันธุ์ พบว่าความยาวลำเป็นองค์ประกอบผลผลิตที่มีความสำคัญที่สุด โดยมีอิทธิพลรวมสูงสุดถึง 3 ใน 4 พันธุ์ โดยในทุกพันธุ์แม่เป็นผลเนื่องจากอิทธิพลทางตรง ทั้งนี้จำนวนลำต่อกอมีความสำคัญต่อผลผลิตอ้อยตอแตกต่างกันในพันธุ์อ้อยลูกผสมที่มีพันธุ์แม่ต่างกัน เมื่อพิจารณาค่าแพทโคเอฟฟิเชียนท์ขององค์ประกอบผลผลิตของพันธุ์อ้อยลูกผสมที่มีพันธุ์พ่อเดียวกัน ซึ่งมี 5 พันธุ์ พบว่าความยาวลำยังเป็นองค์ประกอบผลผลิตที่มีความสำคัญที่สุด โดยมีอิทธิพลรวมสูงสุดถึง 4 ใน 5 พันธุ์ โดยน้ำหนักต่อลำเป็นองค์ประกอบผลผลิตที่มีความสำคัญรองลงมา เมื่อพิจารณาค่าที่วิเคราะห์ในแต่ละคู่ผสม พบว่ามีความแตกต่างกันในแต่ละคู่ผสม โดยความยาวลำมีอิทธิพลรวม และอิทธิพลทางตรงที่สูง น้ำหนักต่อลำมีอิทธิพลรวมที่สูง แต่มีอิทธิพลทางตรงปานกลาง จำนวนลำต่อกอมีอิทธิพลรวม แต่อิทธิพลทางตรงปานกลาง และเส้นผ่านศูนย์กลางลำมีอิทธิพลรวมปานกลาง แต่มีอิทธิพลทางตรงที่ต่ำ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )