การตรวจสอบความดีเด่นในลักษณะซีซีเอสของอ้อยพันธุ์กำแพงแสนชุดปี 2007 ภายใต้สภาพแวดล้อมต่างๆ โดยการวิเคราะห์ GGE | Evaluation the Oustanding of Kamphaeng Saen Sugarcane Varieties Series 2007 in CCS of Plant Cane under Various Environments by GGE Biplot

Main Article Content

โอภาส วงษ์น้อย
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน
อภิวิชญ์ ทรงกระสินธุ์

Abstract

จากการที่พันธุ์อ้อยที่มีซีซีเอสสูงเป็นสิ่งที่ต้องการในการผลิตอ้อย และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ปลูกอ้อยมีความแตกต่างกัน จึงได้ทำการตรวจสอบซีซีเอสของพันธุ์อ้อยกำแพงแสนชุดปี 2007 โดยการวิเคราะห์ GGE ทั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์โดยการจัดกลุ่มแปลงทดสอบ 15 แปลงตามสภาพแวดล้อมต่างกัน ได้แก่ อายุการเก็บเกี่ยว ภูมิภาค ลักษณะเนื้อดิน และปริมาณน้ำฝนก่อนเก็บเกี่ยว 4 เดือน แต่ละแปลงทดสอบมีพันธุ์อ้อยกำแพงแสน 10 พันธุ์และพันธุ์ขอนแก่น 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ วางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 3 ซ้ำ แต่ละแปลงย่อยมี 3 แถว ยาว 8 เมตร ผลการทดลองสามารถบ่งบอกปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำให้พันธุ์แต่ละพันธุ์มีซีซีเอสที่ดีเด่น โดยพันธุ์อ้อยที่มีลักษณะดีเด่นทั่วไป ได้แก่ พันธุ์ขอนแก่น 3 และกำแพงแสน 07-29-1 แต่เมื่อทดสอบความดีเด่นและเสถียรภาพที่มีการจัดกลุ่มปัจจัยทางสภาพแวดล้อม พบว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 มีความดีเด่นเมื่อเก็บเกี่ยวเร็วหรือมีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ในภาคกลางและภาคตะวันตก ในดินที่มี silt เป็นส่วนประกอบหลัก และเมื่อมีปริมาณน้ำฝนก่อนเก็บเกี่ยว 3 เดือน ที่ต่ำ และปานกลาง (น้อยกว่า 50 มม.,  50-100 มม. และ 400-600 มม.) ส่วนพันธุ์กำแพงแสน 07-29-1 มีความดีเด่นเมื่อเก็บเกี่ยวช้าหรือมีอายุเก็บเกี่ยวยาว ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในดิน clay หรือ sand เป็นส่วนประกอบหลัก และเมื่อมีปริมาณน้ำฝนก่อนเก็บเกี่ยว 3 เดือน ปานกลาง (100-200 มม.) นอกจากนี้พบพันธุ์อ้อยอื่นที่ปรากฏความดีเด่นในปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เฉพาะ ได้แก่ พันธุ์กำแพงแสน 07-10-6 เมื่อมีปริมาณน้ำฝนก่อนเก็บเกี่ยว 3 เดือนที่สูง (มากกว่า 600 มม.) และพันธุ์กำแพงแสน 07-24-2 ในดิน loam เป็นส่วนประกอบหลัก ทั้งนี้ความแตกต่างของชนิดเนื้อดิน มีผลต่อความแตกต่างของผลผลิตของพันธุ์อ้อยในระดับที่แตกต่างกันมากที่สุด โดยความแตกต่างของชนิดเนื้อดินที่มีค่า GE scores สูงสุดและต่ำสุดเท่ากับ 4.06 เท่า ในขณะที่ความแตกต่างของภูมิภาค มีผลน้อยที่สุดเท่ากับ 1.74 เท่า

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )