การเปรียบเทียบศักยภาพของอ้อยพันธุ์กำแพงแสนระหว่างอ้อยปลูกและอ้อยตอ ต่อการให้น้ำหยดในระดับต่างๆ | Comparison of Potential between Plant Cane and Ratoon Cane of Kamphaeng Saen Sugarcane Varieties to Different Levels of Drip Irrigation

Main Article Content

สินาภรณ์ ทัดเทียม
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน
อภิวิชญ์ ทรงกระสินธุ์
จำเนียร ชมภู

Abstract

            ได้ทำการทดลองวิธีการให้น้ำหยดเพื่อตรวจสอบวิธีการให้น้ำหยดที่เหมาะสมในอ้อยแต่ละพันธุ์ วางแผนการทดลองแบบ strip plot มี 3 ซ้ำ โดยปัจจัย Vertical factor เป็นวิธีการให้น้ำ 4 วิธีการ ได้แก่ control (อาศัยน้ำฝน) และวิธีการให้น้ำหยด 3 วิธีที่มีค่า IW/CPE 0.3, 0.5 และ 1.0 และปัจจัย Horizontal factor เป็นอ้อยพันธุ์กำแพงแสน 4 พันธุ์ ได้แก่ กำแพงแสน 00-58 กำแพงแสน 01-1-12 กำแพงแสน 01-4-29 และ กำแพงแสน 07-14-2 แต่ละแปลงย่อยมี 3 แถว ยาว 8 เมตร ระยะห่างระหว่างแถว 1.5 เมตร ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอ้อยและน้ำตาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ทำการทดลองให้น้ำหยดเมื่ออ้อยอายุ 2 เดือน และเก็บเกี่ยวอ้อยเมื่ออายุอ้อย 260 วัน ทำการไว้ตอและทดลองวิธีการให้น้ำหยดหลังไว้ตอ 2 เดือน และเก็บเกี่ยวอ้อยตอเมื่ออายุอ้อย 295 วัน จากผลการทดลองพบว่าผลผลิตอ้อยตอต่ำกว่าอ้อยปลูก โดยสภาพอาศัยน้ำฝนและการให้น้ำหยดที่อัตราสูง (IW/CPE 1.0) มีความแตกต่างน้อยกว่าการให้น้ำหยดในอัตราต่ำและปานกลาง (IW/CPE 0.3 และ 0.5) ทั้งนี้ในสภาพอาศัยน้ำฝน พันธุ์กำแพงแสน 01-1-12 ซึ่งดีเด่นในอ้อยปลูก มีผลผลิตลดลงในอ้อยตอมาก ส่วนพันธุ์กำแพงแสน 01-4-29 มีผลผลิตสูงทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ โดยมีผลผลิตอ้อยตอมากกว่าอ้อยปลูก นอกจากนี้พบว่าอ้อยทุกพันธุ์มีการลดลงของผลผลิตมากเมื่อให้น้ำหยดที่อัตราต่ำและปานกลาง ในลักษณะซีซีเอสพบว่าอ้อยตอมีค่าสูงกว่าอ้อยปลูก โดยในสภาพอาศัยน้ำฝนมีค่าแตกต่างมากที่สุด และค่าแตกต่างลดลงตามอัตราการให้น้ำหยดที่สูงขึ้น ทั้งนี้พันธุ์กำแพงแสน 01-1-12 เป็นพันธุ์ที่ดีเด่นในซีซีเอส ทั้งอ้อยปลูกในอ้อยตอและทุกวิธีการให้น้ำ นอกจากนี้พบว่า พันธุ์กำแพงแสน 01-4-29 และกำแพงแสน 00-58 มีซีซีเอสในอ้อยตอสูงกว่าอ้อยปลูก ในสภาพอาศัยน้ำฝนและให้น้ำหยดอัตรา IW/CPE 0.5 นอกจากนี้การให้น้ำหยดที่อัตราสูง มีค่าแตกต่างของซีซีเอสระหว่างอ้อยปลูกและอ้อยตอที่ต่ำในอ้อยทุกพันธุ์ เมื่อพิจารณาลักษณะองค์ประกอบผลผลิตพบว่า การให้น้ำหยดที่อัตราปานกลาง (IW/CPE 0.5) มีเปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบของการให้น้ำหยดกับสภาพอาศัยน้ำฝน ในลักษณะองค์ประกอบผลผลิตทุกลักษณะในอ้อยตอต่ำกว่าอ้อยปลูกมากที่สุด รองลงมาได้แก่การให้น้ำหยดอัตราต่ำ (IW/CPE 0.3) ในทุกลักษณะยกเว้นน้ำหนักต่อลำ ส่วนการให้น้ำหยดที่อัตราสูง (IW/CPE 1.0) มีค่าใกล้เคียงกัน ส่วนองค์ประกอบของลักษณะคุณภาพ พบว่า ค่าโพล ค่าพริวลิตี้ และเปอร์เซ็นต์การสุกแก่ ของอ้อยตอมากกว่าอ้อยปลูก โดยค่าโพลและค่าพริวลิตี้มีค่าแตกต่างกันมากเมื่อให้น้ำหยดอัตราสูง (IW/CPE 1.0) และเปอร์เซ็นต์การสุกแก่มีค่าแตกต่างมากเมื่อให้น้ำหยดอัตราปานกลาง (IW/CPE 0.5) ส่วนปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์และเปอร์เซ็นต์เส้นใยของอ้อยตอมากกว่าอ้อยปลูก โดยพิจารณาน้ำตาลรีดิวซ์ค่าแตกต่างมากเมื่อให้น้ำหยดอัตราปานกลางและสูง (IW/CPE 0.5 และ 1.0) และเปอร์เซ็นต์เส้นใยมีค่าแตกต่างมากเมื่อให้น้ำหยดอัตราปานกลาง (IW/CPE 0.5)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )