ผลของปุ๋ยฟอสเฟต การใส่แคลเซียม และชนิดของดินต่อการจับตัวแข็งของดิน | Effects of phosphate fertilizer, calcium application and soil type on soil compaction

Main Article Content

สุนิสา ใจเที่ยง
สัญชัย ภู่เงิน
ศุภชัย อำคา
วิสุทธิ์ วีรสาร

Abstract

             มักมีคำกล่าวว่าดินในบริเวณที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีจะมีการเกาะตัวกันแน่นส่งผลให้เกิดปัญหากับการแทรกซึมน้ำ การเจริญเติบโตของรากพืช และทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรใช้มีส่วนทำให้ดินเกาะตัวกันแน่นแข็งจริงหรือไม่ เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้ที่ปุ๋ยเคมีจะมีผลทำให้ดินแน่น ผู้วิจัยเห็นว่าอนุมูลฟอสเฟตจากปุ๋ยฟอสฟอรัสมีสมบัติเกาะยึดกับอนุภาคดินได้ดีและมีความไวในการตกตะกอนกับแคทไอออนได้หลายชนิด เช่น แคลเซียมและแมกนีเซียมในดินด่าง หรือเหล็กและอะลูมินัมในดินกรด จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าอนุมูล


ฟอสเฟตจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้อนุภาคดินเกาะตัวกันแน่น โดยมีปัจจัยร่วมเป็นชนิดของแร่ดินเหนียว และปริมาณแคทไอออนในดิน งานทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปัจจัย 3 ประเภท ได้แก่ ชนิดของดิน 4 ชุดดิน ปริมาณการใส่ฟอสฟอรัส 6 อัตรา และวิธีการใส่แคลเซียม 3 วิธี ต่อการจับตัวแน่นแข็งของดิน โดยจัดรูปแบบตำรับการทดลองแบบ factorial ใน CRD ผลการทดลองชี้ว่าปัจจัยของชนิดแร่ดินเหนียวส่งผลให้ค่าความแข็งและความหนาแน่นรวมของดินแตกต่างกัน โดยชุดดินลพบุรี (smectite) มีค่าสูงที่สุดรองลงมาคือชุดดินปากช่อง (sesquioxide), ชุดดินเชียงราย (kaolinite) และชุดดินกำแพงแสน (kaolinite) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยของอัตราการใส่ฟอสฟอรัสพบว่าค่าความหนาแน่นรวมและความแข็งของดินมีแนวโน้มลดลงตามอัตราการใส่ฟอสฟอรัสที่เพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาปัจจัยการใส่แคลเซียมพบว่าการใส่แคลเซียมหลังจากใส่ฟอสฟอรัส 2 สัปดาห์ ให้ค่าความแข็งและความหนาแน่นรวมของดินสูงที่สุด ส่วนการไม่ใส่แคลเซียม (ตำรับควบคุม) และการใส่แคลเซียมพร้อมกับฟอสฟอรัสมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )