การศึกษารูปแบบการจัดการความชื้นในดินที่ยอมให้พร่องลงสำหรับกำหนดการให้น้ำแก่อ้อยโดยใช้แบบจำลอง | DSSAT-CANEGRO Study of the Management-Allowed Depletion (MAD) in Irrigation Scheduling for Sugarcane Using DSSAT-CANEGRO

Main Article Content

ณัฐดนัย จุลทรักษ์
เอกสิทธิ์ โฆสิตสกุลชัย
เกศวรา สิทธิโชค
บุญลือ คะเชนทร์ชาติ
ยุทธนา พันธุ์กมลศิลป์

Abstract

          The irrigation scheduling for sugarcane in Nakhon Sawan Province was developed using the DSSAT-CANEGRO simulation model based on the management-allowed depletion (MAD) technique. Two sugarcane planting conditions—new planting and ratoon—were taken into consideration. The simulation study included 7 cases: (1) sugarcane planting under rain-fed system, (2) sugarcane planting under irrigated system with the MAD of 50% (50MAD), (3) 55% (55MAD), (4) 60% (60MAD), (5) 65% (65MAD), (6) 70% (70MAD), and (7) 75% (75MAD). The DSSAT-CANEGRO model reasonably simulated irrigation scheduling for sugarcane at different MAD levels. The irrigation scheduling for sugarcane with the 60MAD is recommended because it provided a compromised alternative between sugarcane product (fresh sugarcane of 14 ton/rai, sucrose of 1 ton/rai (7.5%)) and irrigation practice (irrigation requirement 15 times with a total of 400 mm). Irrigation requirement of the 60MAD was less than that of the conventional 50MAD.


 


บทคัดย่อ


          การพัฒนาแนวทางกำหนดการให้น้ำแก่อ้อยในจังหวัดนครสวรรค์โดยการจำลองสถานการณ์จากเทคนิคการจัดการความชื้นในดินที่ยอมให้พร่องลง (MAD) ด้วยแบบจำลอง DSSAT-CANEGRO โดยพิจารณาการปลูกอ้อย 2 รูปแบบ คือ อ้อยปลูกกับอ้อยตอ และกำหนดสถานการณ์ศึกษาเป็น 7 กรณี ประกอบด้วย (1) การปลูกอ้อยแบบเกษตรน้ำฝน (2) การปลูกอ้อยแบบให้น้ำชลประทานเมื่อความชื้นในดินพร่องลง 50% (50MAD) จากปริมาณความชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (3) 55% (55MAD) (4) 60% (60MAD) (5) 65% (65MAD) (6) 70% (70MAD) และ (7) 75% (75MAD) แบบจำลอง DSSAT-CANEGRO สามารถจำลองกำหนดการให้น้ำแก่อ้อยได้อย่างเหมาะสมในกรณีที่กำหนด MAD ต่างกัน โดยกำหนดการให้น้ำที่แนะนำ คือ กรณี 60MAD เนื่องจากเป็นทางเลือกที่เหมาะสมระหว่างผลผลิตอ้อยที่ได้รับ (ผลผลิตอ้อย 14 ตัน/ไร่, ผลผลิตน้ำตาล 1 ตัน/ไร่ (7.5%)) กับการจัดการชลประทาน (ความต้องการน้ำ 15 ครั้ง รวม 400 มม.) ซึ่งในกรณี 60MAD มีความต้องการน้ำลดลงจากกำหนดการให้น้ำโดยทั่วไป (50MAD)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering )

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2521). อุตุนิยมวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: กรมอุตุนิยมวิทยา.

ประเสริฐ ฉัตรวชิระวงษ์. 2547. อ้อย (sugarcane). ใน คณาจารย์ภาควิชาพืชไร่นา (บรรณาธิการ), พืชเศรษฐกิจ. (น. 272-295). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรีชา กาเพ็ชร, ทักษิณา ศันสยะวิชัย, และกอบเกียรติ ไพศาลเจริญ. (2557). ผลกระทบของความหลากหลายของสภาพแวดล้อมต่อการผลิตอ้อยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิชาการเกษตร, 32(1), 2-15.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน

วัลลิภา สุชาโต, ปิยธิดา อินทร์สุข, นัฐภัทร์ คำหล้า, และดาวรุ่ง คงเทียน. (2558). การวิจัยและพัฒนาอ้อยสำหรับภาคกลาง เหนือ ตะวันออกและตะวันตก. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.

วิบูลย์ บุญยธโรกุล. (2526). หลักการชลประทาน. นครปฐม: ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.

ศูนย์วิจัยและจัดการทางด้านพลังงาน. (2560). โครงการการจัดทำฐานข้อมูลการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพการผลิตอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย. พิษณุโลก: ศูนย์วิจัยและจัดการทางด้านพลังงาน มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและนํ้าตาลทราย. (2559). คนรักษ์อ้อย. กาญจนบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและนํ้าตาลทราย. (2562). รายงานพื้นที่ปลูกอ้อยปีการผลิต 2561/62. กรุงเทพฯ:กลุ่มวิชาการและสารสนเทศอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักนโยบายอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย.

อรรถชัย จินตะเวช และศรินทิพย์ พรหมฤทธิ์. (2545). การประมาณผลผลิตอ้อยด้วยแบบจำลองคอมพิวเตอร์. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรรถชัย จินตะเวช, สุนทร บูรณะวิริยะกุล, ศรินทิพย์ พรหมฤทธิ์, วินัย ศรวัต, ก้อนทอง พวงประโคน, ปราการ ศรีงาม, และรัชภูมิ ใจกล้า. (2547). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจผลิตพืชระดับท้องถิ่น: ท้องทุ่งไทย ๑.๐. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อรรถชัย จินตะเวช, สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์, และเฉลิมพล ไหลรุ่งเรือง. (2540). การพัฒนาและการทดสอบแบบจำลองการเจริญ
เติบโตของอ้อยในประเทศไทย. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรรถชัย จินตะเวช. (2551). การจำลองผลกระทบของสภาพบรรยากาศในอนาคตต่อการผลิตอ้อย. วารสารแก่นเกษตร, 36(2), 99-107.

เอกสิทธิ์ โฆสิตสกุลชัย. (2557). การใช้น้ำของพืช: ทฤษฎีและการประยุกต์. นครปฐม: ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Allen, R. G., Pereira, L. S., Raes, D., & Smith, M. (1998). Crop evapotranspiration-Guidelines for computing crop water requirements-FAO Irrigation and drainage paper 56. Fao, Rome, 300(9), D05109.

Hoogenboom, G., Porter, C. H., Boote, K. J., Shelia, V., Wilkens, P. W., Singh, U., Jones, J. W. (2019). Advances in crop modeling for a sustainable agriculture. In K.J. Boote (Ed.), The DSSAT Crop Modeling Ecosystem
(pp. 173-216). Cambridge, United Kingdom: Burleigh Dodds Science.

Marin, F. R., Jones, J. W., Royce, F., Suguitani, C., Donzeli, J. L., Filho, W. J. P., & Nassif, D. S. (2011). Parameterization and evaluation of predictions of DSSAT/CANEGRO for Brazilian sugarcane. Agronomy Journal, 103(2), 304-315.

Michael, M.A. (2007). Irrigation theory and practice (2nd ed.). New delhi: Vikas Publishing House.

NRCS. (2005). National engineering handbook: irrigation guide. Washington, DC: Natural Resources Conservation Service (NRCS) The United States Department of Agriculture (USDA).

Padhiary, J., Swain, J. B., & Patra, K. C. (2020). Optimized irrigation scheduling using swat for improved crop water productivity. Irrigation and Drainage, 69(3), 387-397.

Ritchie, J.T. (1998). Soil water balance and plant water stress. In G. Y. Tsuji (Ed.), The DSSAT Crop Modeling Ecosystem (pp. 41-54). Understanding Options for Agricultural Production. Dordrecht: Springer.

Singels, A. 2008. DSSAT version 4.5: Canegro-Sugarcane Plant Module. Scientific Documentation.

Singels, A., Jones, M., & Van der Berg, M. (2008). DSSAT v. 4.5 DSSAT/CANEGRO: sugarcane plant module: scientific documentation. Mount Edgecombe: International Consortium for Sugarcane Modeling South African Sugarcane Research Institute.

Tsuji, G.Y. (1998). Network management and information dissemination for agrotechnology transfer, In G. Y. Tsuji (Ed.), Understanding Options for Agricultural Production. (pp. 367-381). Dordrecht: Springer.

Willmott, C. J. (1982). Some comments on the evaluation of model performance. Bulletin of the American Meteorological Society, 63(11), 1309-1313.