ศักยภาพของอ้อยพันธุ์กำแพงแสนในลักษณะคุณภาพเมื่อเก็บเกี่ยวเร็วในอ้อยตอที่ 1 | Potential in Early Harvesting of Kamphaeng Saen Sugarcane Varieties in Quality Characters of First Ratoon Cane

Main Article Content

อมรเทพ ใจเย็น
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน

Abstract

        Kamphaeng Saen sugarcane varieties were investigated for the potential in cane juice quality under early harvesting for ethanol production in the first ratoon cane. The split plot design in RCB with 3 replications having 3 harvesting periods (7, 8 and 9 months) as a main plot and 5 sugarcane varieties (Kamphaeng Saen 01-12, Kamphaeng Saen 01-29, Kamphaeng Saen 07-30-1, Kamphaeng Saen 00-105 and Khon Khen 3) as a sub plot was used. Each plot had 3 rows of 8 meters in length. The experiments were conducted in 7 locations (4 locations of early rainy season and 3 locations of late rainy season). The results revealed that effects of locations, early harvesting periods and sugarcane varieties to 3 quality characters (reducing sugar content, polarity and CCS) of cane juice were observed. Most characters had effects of interaction between trials and harvesting periods and between varieties and trials, but they had no effects of interaction between varieties and harvesting periods or among varieties, trials and harvesting periods. The significance of average reducing sugar content, Pol and CCS were different among trials. Reducing sugar content had the highest value at 7 months and the lowest value at 9 months in every trials. Kamphaeng Saen 07-30-1 sugarcane variety had the highest reducing sugar content in most trials. Pol was the highest at 9 months in most trials. Kamphaeng Saen 01-12 and Khon Khen 3 had the highest Pol in different trials. CCS also had the highest value at 9 months and the lowest value at 7 months in the most trials, in which Kamphaeng Saen 01-12 sugarcane variety had the highest CCS in the most trials.


 


บทคัดย่อ


        ศึกษาพันธุ์อ้อยกำแพงแสนเพื่อประเมินศักยภาพคุณภาพน้ำอ้อยเมื่อเก็บเกี่ยวเร็วในอ้อยตอที่ 1 สำหรับการผลิตเอทานอล วางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCB จำนวน 3 ซ้ำ แต่ละแปลงย่อยมี 3 แถว แต่ละแถวยาว 8 เมตร โดยกำหนดให้ ปัจจัยหลักเป็นระยะการเก็บเกี่ยว ซึ่งมี 3 ระยะ (7, 8 และ 9 เดือน) และ ปัจจัยรองเป็นพันธุ์อ้อยจำนวน 5 พันธุ์ (กำแพงแสน 01-12 กำแพงแสน 01-29 กำแพงแสน 07-30-1 กำแพงแสน
00-105 และขอนแก่น 3)  ทำการปลูกอ้อยทั้งหมด 7 แปลงทดสอบ (แบ่งเป็นแปลงทดสอบต้นฤดูฝน 4 แปลง และแปลงทดสอบปลายฤดูฝน 3 แปลง) ผลการทดลองพบว่า แปลงทดสอบ อายุเก็บเกี่ยวเร็ว และพันธุ์อ้อย
มีอิทธิพลต่อลักษณะคุณภาพของน้ำอ้อย ได้แก่ ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ค่าโพล และซีซีเอส ในส่วนของปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ลักษณะส่วนใหญ่พบอิทธิพลของปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างแปลงทดสอบกับอายุเก็บเกี่ยวและระหว่างพันธุ์กับแปลงทดสอบ แต่ไม่พบอิทธิพลของปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์กับอายุเก็บเกี่ยวหรือระหว่างพันธุ์กับแปลงทดสอบกับอายุเก็บเกี่ยว เมื่อพิจารณาแปลงทดสอบพบความแตกต่างทางสถิติในลักษณะปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ค่าโพล และค่าซีซีเอส โดยปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์มีค่าสูงสุดที่อายุเก็บเกี่ยว 7 เดือน และมีค่าต่ำสุดที่อายุเก็บเกี่ยว 9 เดือน ทุกแปลงทดสอบ โดยมีอ้อยพันธุ์กำแพงแสน 07-30-1 เป็นพันธุ์อ้อยที่มีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงสุดเกือบทุกแปลง ส่วนค่าโพล (Polarity) มีค่าสูงสุดที่อายุเก็บเกี่ยว 9 เดือน เกือบทุกแปลง โดยมีอ้อยพันธุ์กำแพงแสน 01-12 และพันธุ์ขอนแก่น 3 มีค่าโพลสูงสุดในแปลงที่ต่างกัน ส่วนค่าซีซีเอสก็พบว่าแปลงส่วนใหญ่มีค่าสูงสุดที่อายุเก็บเกี่ยว 9 เดือน และมีค่าต่ำสุดที่อายุเก็บเกี่ยว 7 เดือน โดยมีอ้อยพันธุ์กำแพงแสน 01-12 เป็นพันธุ์อ้อยที่มีซีซีเอสสูงสุดเกือบทุกแปลง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )

References

เกษม สุขสถาน. (2521). การจัดการไร่อ้อย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.

ชูศักดิ์ จอมพุก. (2555). สถิติ: การวางแผนการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านพืชด้วย “R” (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สิริวุทธิ์ เสียมภักดี. (2552). หนังสือสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย.
แม่สอดพลังงานสะอาด. (2558). ธุรกิจเอทานอล. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2560 สืบค้นจาก http://www.mce.co.th/?module=product&pages=ethanol,

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2554). พลังงานทางเลือกใหม่จากใบหญ้าสู่
เอทานอล. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560. สืบค้นจาก http://www.ryt9.com/s/tpd/1208788.

อัญญารัตน์ ชะลอม. (2559). ศักยภาพของอ้อยพันธุ์กำแพงแสนเมื่อเก็บเกี่ยวเร็วในลักษณะคุณภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Das, U. K. (1934). The sugar cane plant. A study of millable cane and sucrose formation. Hawaiian Planters’ Records, 11, 251-317.

Nelson, N. (1944). A photometric adaptation of the Somogyi method for the determination of glucose. J. biol. Chem, 153(2), 375-380.

Robertson, M. J., Muchow, R. C., Wood, A. W., & Campbell, J. A. (1996). Accumulation of reducing sugars by sugarcane: effects of crop age, nitrogen supply and cultivar. Field Crops Research, 49(1), 39-50.

Thompson, G. D. (1988). The composition of plant and ratoon crops of variety N14 at Pongola. Age, 100(200), 300.

Venables, W. N., & Smith, D. M. (2016). the R Development Core Team (2012). An introduction to R. Retrieved November, 10, 2014, from http://cran.r~project.org/doc/manu
als/R-into.pdf.