ระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำผสมผสานแบบบูรณาการเพื่อเป็นอาชีพทางเลือกของเกษตรกรรายย่อยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | Integrated Aquaculture Farming System for Alternative Career of Small-Scale Farmers Following the Sufficiency Economy Philosophy

Main Article Content

สมบัติ อินทร์คง
พอจำ อรัณยกานนท์
สุรพล ชุณหบัณฑิต
จินตนา สะและน้อย
อานุภาพ พานิชผล
ฐานิญา ตัณฑวณิช
กนกอร ขำเพชร
วีระพล ฐิติพงษ์ตระกูล
ชัดนารี มีสุขโข

Abstract

        An integrated aquaculture farming system was conducted on the area of 8 rai:  2 rai of 1 intensive pond, 2 rai of 1 polyculture pond, 2 rai of treatment pond and 2 rai of an accommodation area. Fish and shrimp were partially harvested after 3 months for household earnings and 4 months for catching of all organisms. The results were showed that the total production of the intensive pond were 1,504.5 kilograms of Pacific white shrimp with an average size of 58.23 individuals/kilogram. The total production of polyculture pond was 270.5 kilograms of seabass, 535.0 kilograms of red tilapia, and 57.4 kilograms of black tiger shrimp. In addition, fish, shrimp, and mussels from the treatment pond supported the production of the system. The cultured aquatic flora and fauna used and transferred energy in balance and in synergistic ways. This supports the farming to become a complete-cycle production system. This system will not create any impact to the environment but will produce organic and toxic-free aquatic animals from different parts of the system. Moreover, this system is self-sufficient and suitable, following the sufficiency economy philosophy.


 


บทคัดย่อ


        ระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำผสมผสานแบบบูรณาการนี้ ได้ทดลองในพื้นที่ขนาด 8 ไร่ ซึ่งประกอบด้วย
บ่อเลี้ยง จำนวน 2 บ่อ คือ บ่อเลี้ยงแบบพัฒนา และบ่อเลี้ยงแบบผสมผสาน ขนาด 2 ไร่ อย่างละ 1 บ่อ และบ่อพักและบำบัดน้ำ ขนาด 2 ไร่ อีก 2 บ่อ โดยมีระบบน้ำที่สามารถหมุนเวียนน้ำต่อเนื่องถึงกันทั้งระบบ ส่วน 2 ไร่ที่เหลือ เป็นพื้นที่สำนักงาน ที่อยู่อาศัย ปลูกพืชผักสวนครัว และพื้นที่ใช้สอย โดยหลังการทดลองเลี้ยง 3 เดือน ได้เริ่มทยอยจับสัตว์น้ำบางส่วนเพื่อขายเป็นรายได้หมุนเวียนภายในฟาร์ม พร้อมปรับความหนาแน่นภายในบ่อใหม่ และเมื่อครบ 4 เดือน ทำการจับสัตว์น้ำทั้งหมด ผลที่ได้พบว่า กุ้งขาวแวนนาไมในบ่อเลี้ยงแบบพัฒนา
มีผลผลิตรวม 1,504.5 กก. ขนาดเฉลี่ย 58.23 ตัว/กก. ส่วนบ่อเลี้ยงแบบผสมผสานมีผลผลิตปลากะพงขาว 270.5 กก. ปลาทับทิม 535.0 กก. และกุ้งกุลาดำ 57.4 กก. นอกจากนี้ยังมีผลผลิตเสริมจากปลา กุ้ง และหอยในบ่อพักและบำบัดน้ำอีกด้วย โดยพืชและสัตว์น้ำที่ปลูก/เลี้ยงในระบบมีการเจริญเติบโตค่อนข้างดี พบมีการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน และมีการใช้และถ่ายทอดพลังงานระหว่างกันภายในระบบอย่างสมดุล จึงเป็นระบบการผลิตแบบเบ็ดเสร็จ ครบวงจร สามารถให้ผลผลิตที่หลากหลายในทุกส่วนของระบบ อีกทั้งยังเป็นระบบการผลิตสัตว์น้ำอินทรีย์ที่ปลอดสารพิษ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีความคุ้มค่า สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างเหมาะสมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาสัตวศาสตร์ (Animal Science)

References

กรมประมง. (มปป.). การเลี้ยงปลากะพงขาว (Lates cacarifer Bloch) ในกระชังขนาดใหญ่. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 สืบค้นจาก https://www.fisheries.go.th/cf-phuket/aofamru
%20Lates%20calcarifer.pdf.

กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง. (2560). นากุ้งผสมผสานสวน น้อมนำปรัชญาพอเพียง. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/local/
index.php/main/view_activities/176/8003.

ชนกันต์ จิตมนัส. (2559). นวัตกรรมเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13(2), 116-125

ทยากร สุวรรณรัตน์. (2552). การพัฒนาระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบปิดความหนาแน่นสูงโดยผสมผสานตัวกรองชีวภาพไนตริฟิเคชันและดิไนตริฟิเคชัน. (น. 123). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ และสมภพ รุ่งสุภา. (2544). ระบบการผลิตพืชและสัตว์น้ำสำหรับอนาคต: การเพาะเลี้ยงทางน้ำแบบบูรณาการ คู่มือธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมอาหารทะเลส่งออก. (น. 8-10). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภุชงค์ ศรีอ่วม. (2554). ระบบบูรณาการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ของปลา จุลสาหร่าย แพลงก์ตอนสัตว์ และพืชน้ำ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2561). แนวปฏิบัติในการใช้มาตรฐานสินค้าเกษตรการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี สำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำจืด. (น. 63). กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุภลัคน์ ถิรวณิชย์, สมภพ รุ่งสุภา และเผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์. (2544). การทดลองระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดเบื้องต้นเพื่อการเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อ ปลากะพงขาว และสาหร่ายทะเลแบบบูรณาการ. ใน การประชุมวิชาการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ เรื่อง การจัดการและการใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการ. วันที่ 6-8 ธันวาคม 2544. (น. 11). เชียงใหม่: โรงแรม โลตัส ปางสวนแก้ว.

สมบัติ อินทร์คง, ชลธยา ทรงรูป, พอจำ อรัณยกานนท์, สุรพล ชุณหบัณฑิต, สมภพ รุ่งสุภา, อิทธิพร ตัณฑุลวณิชย์, จีราวัฒน์ จิตรีเชาว์ และเผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์. (2550). การวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจผสมผสานแบบบูรณาการในระบบบ่อเลี้ยง. บทความวิชาการ. ในหนังสือครบรอบ 16 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ. (น. 87-93). กรุงเทพ: เอสทีซี มีเดีย & มาเก็ตติ้ง.

APHA, AWWA, & WEF. (1995). Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater (19th ed.). Maryland:United Book.

Butterworth, A. (2010). Integrated Multi-Trophic Aquaculture systems incorporating abalone and seaweeds. Report for Nuffield Australia Project, 914.

Gooley, G. J.,& Gavine, F. M. (2003). Integrated Agri-Aquaculture Systems: A Resource Handbook for Australian Industry Development. (p.183). Australia: Rural Industries Research and Development Corporation.

NACA/FAO. (2000). Aquaculture Development Beyond 2000: The Bangkok Declaration and Strategy: In Conference on Aquaculture in the Third Millenium. Thailand, Bangkok.

Neori, A., Shpigel, M., & Ben-Ezra, D. (2000). A sustainable integrated system for culture of fish, seaweed and abalone. Aquaculture, 186
(3-4), 279-291.

Shpigel, M., Neori, A., Popper, D. M., & Gordin, H. (1993). A proposed model for “environ
mentally clean” land-based culture of fish, bivalves and seaweeds. Aquaculture, 117
(1-2), 115-128.

Troell, M., Halling, C., Nilsson, A., Buschmann, A. H., Kautsky, N., & Kautsky, L. (1997). Integrated marine cultivation of Gracilaria chilensis (Gracilariales, Rhodophyta) and salmon cages for reduced environmental impact and increased economic output. Aquaculture, 156
(1-2), 45-61.

Zhou, Q., Li, K., Jun, X., & Bo, L. (2009). Role and functions of beneficial microorganisms in sustainable aquaculture. Bioresource Techno
logy, 100(16), 3780-3786.