การศึกษาสภาพปัญหาสุขภาพ การออกกำลังกายและสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดนครปฐม | A Study of Health Problems, Exercise and Health-related Physical Fitness among the Elderly in Communities of Nakhon Pathom Province
Main Article Content
Abstract
The objective of this study was to examine health problems, exercise and health-related physical fitness among the elderly in purposive selected area, Kamphaeng Saen and Mueang District of Nakhon Pathom Province. For samples, 69 volunteers were interviewed by using the instrument which was verified by experts, and 80 volunteers were tested health-related physical fitness by using the 60 - 89 year- old physical fitness testing program designed by the Department of Physical Education 2013. Descriptive statistics (frequency, percentage, mean, and standard deviation) was used.
The results of the study revealed that 36.83 percent of the volunteers had chronic diseases which mainly were diabetes, high blood pressure, and so on, 72.73 percent exercised by walking; 35 percent had never exercised; 52.17 percent had movement in their occupation activities such as housework, gardening, farming, cycling, and walking to work until feeling tired at least 30 minutes a day, 5 days a week; 73.91 percent had never exercised or played any kinds of sports. Health-related physical fitness of the female was very low indicating very low flexibility, leg muscle strength, right and left shoulder flexibility. For the male, only one man had very low leg muscle strength. The results indicated the health problems of aging. To reduce risk factors of chronic disease and promote healthy life style, government and private sectors who related should be support and encourage the systematic of exercise process in community to reach the goal success fully in promote aging health and physical fitness.
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาสุขภาพ การออกกำลังกาย และสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่ที่ได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากอำเภอกำแพงแสนและอำเภอเมือง ของจังหวัดนครปฐม ตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุอาสาสมัคร จำนวน 69 คน ตอบแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพโดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ และอีกจำนวนหนึ่งคือ 80 คน ได้ทดสอบสมรถภาพทางกาย ด้วยแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ อายุ 60-89 ปี พ.ศ. 2556 ของกรมพลศึกษา ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลโรคประจำตัวของผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง เป็นโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง และอื่นๆ เป็นจำนวนร้อยละ 36.83 ออกกำลังกายด้วยการเดิน เป็นจำนวนร้อยละ 72.73 ไม่เคยออกกำลังกาย เป็นจำนวนร้อยละ 35 มีการเคลื่อนไหวในการทำงานบ้านงานอาชีพ เช่น ทำงานบ้าน/ทำสวน/ทำไร่/ทำนา/ขี่จักรยานหรือเดินไปทำงานจนรู้สึกเหนื่อยกำลังดีสะสมอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วันเป็นจำนวนร้อยละ 52.17 และออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา เป็นจำนวนร้อยละ 73.91 สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของเพศหญิงอยู่ในเกณฑ์ต่ำถึงต่ำมาก คือ ความอ่อนตัว ความแข็งแรงของขา ความยืดหยุ่นของไหล่ขวาและซ้าย และเพศชายพบเพียงหนึ่งรายการที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก คือ ความแข็งแรงของขาจากข้อค้นปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อช่วยลดปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง และส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดี รัฐบาลและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดกระบวนการออกกำลังกายในชุมชนอย่างเป็นระบบ นำไปสู่ความสำเร็จในด้านการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพและสมรรถภาพทางกายที่ดี
Downloads
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2558). รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. กรุงเทพฯ: วัชรินทร์ พี.พี.
เขมิกา สมบัติโยธา, วิทยา อยู่สุข, และนิรุวรรณ เทิรนโบว์. (2561). พฤติกรรมสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38(1), 47-59.
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563 สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/download/laws/law_th_20152309144546_1.pdf
ชวนากร วรินทรโชคาวร, น้ำทิพย์ อินทพงษ์, จารุวรรณ เงินทอง, รัตฯ ทิศามูล, และมัณฑนา จริยรัตน์ไพศาล. (2560).
สุขสมรรถนะผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 4. 774-784.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2555). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: พงษ์พาณิชย์เจริญผล.
วัชรพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว. (2557). พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
วิไล ตาปะสี, ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์, และสีนวล รัตนวิจิตร. (2560). รูปแบบการจัดบริการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลวังตะกู จังหวัดนครปฐม. วารสารเกื้อการุณย์, 24(1), 42-54.
วีระวัฒน์ แซ่จิว. (2559). กิจกรรมทางกายและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). ผลสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย 2560. สืบค้นจาก https://gnews.apps.go.th/news?news=22878
กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2556). คู่มือแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ อายุ 60-89 ปี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเคแมส.
อัญญา ปลดเปลื้อง, อัญชลี ศรีจันทร์, และสัญญา แก้วประพาฬ. (2560). การศึกษาวิถีชีวิตของผู้สูงอายุ: การศึกษาแบบเรื่องเล่า. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 91-104..
Husu, P. (2019). Health-related fitness tests for older adults. Retrieved April, 5, 2020, from https://www.ukkinstituutti.fi/en/research-development/monitoring-physical-activity-and-fitness/health-related-fitness-tests-for-older-adults.