การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่มีผลต่อดัชนีมวลกาย ดัชนีความสุข และประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางการศึกษา | The Development of Health Behavior Modification Model Upon Body Mass Index, Happiness Index, and Work Efficiency of Educational Personnel

Main Article Content

นันทวัน เทียนแก้ว
อำพร ศรียาภัย
กฤชพล อาษาภักดี

Abstract

            The purpose of this study was to develop a health behavior modification model for educational personnel, studying and comparing the body mass index, the evaluation of work efficiency, and happiness index of Thai people. It is research and development by collecting data from health dietary and exercise behavior questionnaires, characteristics of physical activity questionnaires among 245 subjects, experimental research with only a sample group which is educational personnel in Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus. It was derived from 30 selected volunteers. The research tool is a developed health behavior modification model called “KPS-FEE” with the Item Objective Congruence Index (IOC) 0.97, work efficiency questionnaires with the Item Objective Congruence Index (IOC) 0.92 and Thai Happiness Indicators: THI-15 assessment, which is the reliability with Cronbach's alpha coefficient 0.70. The baseline statistics were used: mean and standard deviation (SD), compared before and after applying the health behavior modification model, using statistical analysis Paired-Sample T-Test.


            The results of the study showed that the “KPS-FEE” health behavior modification model had an Item Objective Congruence Index of 0.97 and was at a high level of appropriateness, then applied to the sample personnel found, work efficiency before and after using the model. There was a statistically significant difference at .05. The body mass index and happiness index of Thai people were not statistically, significantly different, but the average tended to improve. From such findings, to help reduce health problems of educational personnel and the risk of non-communicable diseases, and to promote a good quality of life. educational institutions should support and encourage these people to adjust themselves to change health behaviors to lead to sustainable good health.


บทคัดย่อ


            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษา โดยศึกษาและเปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกาย ประสิทธิภาพการทำงานและดัชนีชี้วัดความสุขของคนไทยก่อนและหลังการใช้รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกายด้านการออกกำลังกาย แบบสำรวจรูปแบบและลักษณะของกิจกรรมทางกาย จำนวน 245 คนและการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยการทดลองเฉพาะกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคลากรทางการศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน ได้มาจากการเลือกแบบอาสาสมัคร (Volunteer selection) จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัย คือ รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยนักวิจัยตั้งชื่อ “KPS-FEE” มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item Objective Congruence: IOC) เท่ากับ 0.97 แบบประเมินประสิทธิภาพการทำงาน โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม (IOC) เท่ากับ 0.92 แบบประเมินดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย (Thai Happiness Indicators : THI-15) ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (reliability) โดยมีค่า Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.70 ใช้สถิติพื้นฐานค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้รูปแบบการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired-Sample T-Test


            ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษา “KPS-FEE” มีดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.97 และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก จากนั้นนำไปใช้กับบุคลากรกลุ่มตัวอย่างพบว่า ค่าประสิทธิภาพการทำงานก่อนและหลังการใช้รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าดัชนีมวลกายและค่าดัชนีความสุขของคนไทย ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ค่าเฉลี่ยมีแนวโน้มดีขึ้น จากข้อค้นพบดังกล่าว เพื่อช่วยลดปัญหาทางสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษาลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สถาบันการศึกษาควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางสุขภาพที่ดี

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพและกีฬา (Science and Health Science & Sport)

References

กรมควบคุมโรค. 2564. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564). เมื่อ 10 ตุลาคม 2565, จากhttp://thaincd.com/2016/mission/activity-detail.php?id=13065

กรมสุขภาพจิต. 2545. แบบประเมินความสุขคนไทยสำหรับสถานประกอบการ. เมื่อ 14 ตุลาคม 2565, จาก http://odpc5.ddc.moph.go.th/groups/Academic/images/stories/env/เอกสารการดำเนินงานENVOCC2560/2.งานสถานประกอบการ%20(แรงงานในระบบ)/แบบประเมินสุขภาพจิต/แบบประเมินความสุขคนไทย.pdf

นันทิดา ชุ่มวิเศษ. 2554. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะไขมันผิดปกติในเลือดของข้าราชการครูที่มาตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลสันป่าตอง ปี 2552. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 7(1), 25-38.

พัชราภรณ์ อารีย์, อุมาพร ปุญญโสพรรณ, วิจิตร ศรีสุพรรณและสถิตย์ วงศ์สุรประกิต. 2556. ผลของรูปแบบ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินต่อระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดในสตรีที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง. วารสารพยาบาลสาร (ฉบับพิเศษ), 40, 14-22.

วิชัย เอกพลากร. 2564. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. เมื่อ 10 ตุลาคม 2565, จาก https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/report/index.php?r=03&m=01

ศิลป์ชัย เนตรทานนท์ และอุทัยวรรณ โคกตาทอง. 2564. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพวัยทำงานในชุมชน เขตสุขภาพที่ 5. วารสารสุขภาพประชาชน, 16(2), 8-22.

อติญาณ์ ศรเกษตรริน, รุ่งนภา จันทรา, รสติกร ขวัญชุม, ลัดดา เรืองด้วง. 2560. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพตามแนว 3อ 2ส ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลคลองฉนาก อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารเครือข่ายพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 253-64.

Albert, B.(1986). Social foundation of thought and action: A social cognitive theory. New Jersey: Prentice-Hall.

Davies, M., & Macdowall, W. (2006). Health promotion theory. New York: Open University Press.

Organization, W. H. (2022). Noncommunicable diseases: World Health Organization. Retrieved September 16, 2022, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases