ผลของสัดส่วนน้ำต่อแป้งมันสำปะหลังต่อคุณภาพทางกายภาพและเคมีของข้าวเกรียบที่ผลิตตามกระบวนการแบบภูมิปัญญาเวียดนาม Effect of Water to Tapioca Starch Ratio on Physical and Chemical Quality of Rice Crackers from Traditional Process of Vietnamese

Main Article Content

ลักษมณ์นารา ศริญญาวัจน์
เชาว์ อินทร์ประสิทธิ์

Abstract

          The study of the ratio of water to cassava starch in the production of Vietnamese rice crackers is the main factor affecting production and quality. The results of the study will be applied to low-shear extruder machines to replace traditional production. According to the traditional formula, high-water ratio was used to decrease the viscosity of dough and to simplify production process. Therefore, the objective of this research was to investigate the optimum ratio of water and tapioca starch for rice cracker production by a low-shear extruder machine. The water-tapioca starch ratios were increased starch to get a mixture that is less liquid. There are 5 levels: 45.0:36.0, 42.5:38.5, 40.0:41.0, 37.5:43.5, and 35.0:46.0. According to the experiment, the ratio 40.0:41.0 was selected. The dry raw cracker is a gelatinization level89.24%, diameter 31.19±0.07 mm, color value L*(brightness)=51.18±4.02  a*(green to red) =7.08±0.39  b*(blue to yellow)=25.96±0.75, and the product moisture content (%wb) was 10.09±0.24 within Thai community product standard (less than 12%). Ready-to-eat products had a color value of L*(brightness)=55.01±3.78 a*(green to red)=6.25±1.20 b*(blue to yellow)=29.34±2.93, swelling rate (%) 574.64 ± 106.50, density 0.163±0.01 g/cm3, oil absorption (%) 64.34±5.41, diameter after frying 59.70±0.28 mm, maximum force 6.31±0.58 newton The product moisture content (%wb) was 2.53 ± 0.26 within Thai community product standard (less than 4 %). Therefore, the ratio of 40.0:41.0 was a suitable proportion for both physical and chemical properties.


บทคัดย่อ


          การศึกษาสัดส่วนน้ำต่อแป้งมันสำปะหลังในการผลิตข้าวเกรียบเวียดนามเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการผลิตและคุณภาพของข้าวเกรียบ เพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการผลิตข้าวเกรียบจากแป้งมันสำปะหลังแบบต่อเนื่องโดยใช้เครื่องอัดแบบสกรูแรงเฉือนต่ำ (Low shear extruder) ทดแทนการผลิตในแบบดั้งเดิมหรือภูมิปัญญา แต่ข้อจำกัดของการผลิตแบบดั้งเดิมจะใช้สัดส่วนปริมาณน้ำสูงเพื่อให้แป้งเหลวสะดวกต่อการผลิต ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนของน้ำกับแป้งที่เหมาะสมต่อการผลิตข้าวเกรียบด้วยเครื่องอัดแบบสกรูแรงเฉือนต่ำ โดยเพิ่มปริมาณแป้งมันสำปะหลังในส่วนผสมเพื่อให้ได้ลักษณะของส่วนผสมที่เหลวน้อยลง ทดสอบสัดส่วน 5 ระดับ(สัดส่วนร้อยละ) ดังนี้ 45.0:36.0, 42.5:38.5, 40.0:41.0,  37.5:43.5 และ 35.0:46.0
จากการศึกษา พบว่า สัดส่วน 40.0:41.0 ทำให้ข้าวเกรียบดิบมีระดับการเจลาติไนเซชัน  89.24% เส้นผ่านศูนย์กลาง 31.19±0.07 มม. ค่าสี L*(ความสว่าง)=51.18±4.02  a*(แกนสีเขียวถึงแดง)=7.08±0.39  b*(แกนสีน้ำเงินถึงเหลือง)=25.96±0.75  ส่วนความชื้น(%)10.09±0.24  อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชุน (กำหนดไม่เกินร้อยละ 12) และข้าวเกรียบสำเร็จรูปมีค่าสี L*(ความสว่าง)= 55.01±3.78  a*(แกนสีเขียวถึงแดง)=6.25±1.20 b*(แกนสีน้ำเงินถึงเหลือง)=29.34±2.93 อัตราการพองตัว(%) 574.64 ± 106.50 ความหนาแน่น 0.163±0.01 g/cm3  ค่าดูดซับน้ำมัน(%) 64.34±5.41 ส่วนความชื้น(%) 2.53±0.26 อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชุน (กำหนดไม่เกินร้อยละ 4)  และเส้นผ่านศูนย์กลาง 59.70±0.28 มม. ค่าแรงกดสูงสุด 6.31±0.58 นิวตันดังนั้น สัดส่วน 40.0:41.0 จึงเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมทั้งคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
สาขาวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพและกีฬา (Science and Health Science & Sport)

References

กล้าณรงค์ ศรีรอต. (2542). เทคโนโลยีของแป้ง. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จํากัด.

จริยา สุขจันทรา. (2559). การพัฒนาอาหารท้อง ถิ่นจากแป้งสาคู: หัวข้าวเกรียบแช่แข็ง. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 21(2), 17-30.

จารุวรรณ สุพรรณพยัคฆ์, ปาริสุทธิ์ เฉลิมวัฒน์ และทัศนีย์ ลิ้มสุวรรณ. (2563). ผลของการอบแห้งสาหร่ายผักกาดทะเล (Ulva rigida) ต่อคุณภาพและการนำไปใช้ประ โยชน์ในข้าวเกรียบ, วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 48(2), 227-235.

ชิดชนก มากจันทร์. (2563). การลดการดูดซับน้ำมันในผลิตภัณฑ์แห้วทอดด้วยเทคโนโลยีสนามไฟฟ้า. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 14(1), 37-47.

ชุมพร หนูเมือง. (2563). การจำลองการถ่ายเทความร้อนในไส้กรอกอีสานย่าง. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 48(4), 542-553.

โซเฟีย เมฆารัฐ, รอมลี เจะดอเลาะ, รักชนก ภูวพัฒน์ และอาสลัน หิเล. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สูตรข้าวเกรียบปลาทูเสริมใบถั่วดาวอินคา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนคริทร์, 11(1), 125-134.

ธีรเดช กนกเมธากุล, นัฐวงค์ เฟื่องไฟบูลย์ และรัชดา ตั้งวงค์ไชย. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบทอดจากกล้วยน้ำว้าในการรายงานการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22(น. 512-524).

นรินทร์ เจริญพันธ์. (2563). การใช้ประโยชน์จากปลายข้าวเพื่อผลิตข้าวแตน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(12), 2150-2163.

นฤดม บุญ-หลง. (2531). การพัฒนาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อเป็นอาหารและอาหารสัตว์ข้าวเกรียบ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประชา บุญญสิรกูล. (2537). บทบาทของเอ็กทรูดเดอร์ที่มีต่ออุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. วารสารอาหาร, 24(1), 1-12

พรรณี วงศ์ไกรศรีทอง และณรงค์ นิยมวิทย์. (2530). การผลิตข้าวเกรียบปลาโดยใช้ เครื่องรีดแผ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เพลินใจ ตังคณะกุล. (2546). การทำข้าวเกรียบเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพ. วารสารอาหาร, 33(2), 90-93.

วลัยกร นิตยพัฒน์. (2558). วิทยาศาสตร์ของสี, คหกรรมศาสตร์ มศว, 13(1), 3-11.

สยุมพร รัตนพันธ์ และเชาว์ อินทร์ประสิทธิ์. (2561). ผลของเวลาในการนึ่งต่อคุณภาพของ ข้าวเกรียบจากแป้งมันสำปะหลังผลของเวลา ในการนึ่งต่อคุณภาพของข้าวเกรียบจากแป้งมันสำปะหลัง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 26(3), 532-543.

สุวรนี ปานเจริญ และปิยาพัชร จันทร์สุข. (2565). ผลของแป้งมันสำปะหลังต่อคุณสมบัติทางกายภาพเคมี และประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ปลาเส้นจากปลาช่อนจังหวัดสิงห์บุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 1(1), 57-65.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2546). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เรื่อง ข้าวเกรียบ มผช.107/2546.

เมื่อ 6 ธันวาคม 2564 จาก http://otop.dss.go.th/attachments/article/162/CF84%20(E1).pdf

Siegel, A. (1974). Development, Acceptability, and Nutritional Evaluation of New High-Protein Rice-Based Foods for Thai Children. (Doctoral dissertation). Michigan: Kansas State University.

AOAC. (2000). Official Methods of Analysis of AOAC International 17th. Maryland: AOAC International.

Qiao, F., Huang, L.L, Xia, W.S. (2012). (2012). A Study on Microwave Vacuum Dried Re-Structured Lychee (Litchi Chinensis Sonn.) Mixed with Purple Sweet Potato (Ipomoea Batatas) Snacks. Journal of Food and Biopro- ducts Processing, 90, 653-658. doi: 10.1016/j.fbp.2012.05.002

Mohamed, S., Abdullah, N., Muthu, M.K. (1988) Expansion, Oil Absorption, Elasticity and Crunchiness of Keropok (Fried Crips) in Relation to The Physico-Chemical Nature of Starch Flours. Proceedings of the Food Conference ‘88. 108-113.

Sandra, S., Franco, P., & Petr, D. (2004). Volume Measurement Method of Potato Chips. Journal of Food Properties, 7(1), 37-44. doi: 10.1081/JFP-120022494

Yu, S.Y., Mitchell, R., & Abdullah, A. (1981). Production and Acceptability Testing of Fish Crakers (" Keropok") Prepared by the Extrusion Method [Fish Product. Journal of Food Science & Technology, 16(1), 51-58. doi: 10.1111/j.1365-2621.1981.tb00995.x

Tran, V. V. (2017). How to Make a Simple Weekend Crispy Shrimp Puff Pastry. Retrieved December 6, 2021, from https://daylambanh.edu.vn/banh-phongtom.com