ผลของปุ๋ยไนโตรเจนละลายช้า และปุ๋ยเคลือบสารยับยั้งกระบวนการไนตริฟิเคชัน ต่อการเจริญเติบโตของพริกหวาน และไนโตรเจนอนินทรีย์ในชุดดินกำแพงแสน The Effects of Slow Releasing N-Fertilizer and Inhibited Nitrification N-Fertilizer on the Growth of Sweet Pepper (Capsicum annuum L.) and Inorganic Nitrogen in Kamphaengsaen Soil Series

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

จารุวรรณ วรรณประเสริฐ
ศุภชัย อำคา
ธงชัย มาลา

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยไนโตรเจนละลายช้า และปุ๋ยเคลือบสารยับยั้งไนตริฟิเคชันที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพริกหวาน และสมบัติดินบางประการของชุดดินกำแพงแสน วางแผนการทดลองแบบ 2×18 Factorial in Completely Randomized Design จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 เป็นจำนวนครั้งของการใส่ปุ๋ยมี 2 ระดับ ได้แก่ ใส่ปุ๋ย 1 ครั้ง และใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ปัจจัยที่ 2 เป็นแบบของปุ๋ยมี 18 แบบ ได้จากปุ๋ย  6 ชนิด คือ ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0, U) ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0, A) ปุ๋ยยูเรีย+ใบสะเดาแห้งบด (Un) ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต+ใบสะเดาแห้งบด (An) ปุ๋ยเคลือบสารยับยั้งไนตริฟิเคชัน (เอ็นเทค, 20-10-10, N) และปุ๋ยละลายช้า (ฟลอรานิด, 20-5-8, F) โดยมีการไม่ใส่ปุ๋ยเป็นสิ่งทดลองควบคุม ซึ่งแต่ละชนิดใส่ไนโตรเจน 3 ระดับ คือ 25, 50 และ 100 เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนของค่าวิเคราะห์ดิน (6, 12 และ 24 กก.ไนโตรเจน /ไร่) โดยทดสอบกับพริกหวานพันธุ์เวก้า 1288 ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยครั้งเดียว ทำให้การเจริญเติบโตของพริกหวาน และผลผลิตของพริกหวาน สูงกว่าการใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ปุ๋ยไนโตรเจนทั้ง 18 แบบ ส่งผลให้การเจริญเติบโต ค่าความเขียวของใบ และผลผลิตของพริกหวนแตกต่างกันทางสถิติ โดยการใช้ปุ๋ยฟลอรานิค และเอ็นเทค มีการเจริญเติบโต ค่าความเขียวของใบ และผลผลิต สูงกว่าการใช้ปุ๋ยยูเรีย และแอมโมเนียมซัลเฟต การใช้ปุ๋ยเอ็นเทค อัตรา 50 เปอร์เซ็นต์ และปุ๋ยฟลอรานิด อัตรา 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าวิเคราะห์ดิน ให้ผลผลิต 732.45 และ 711.74 กก./ไร่ ตามลำดับ ส่วนการใช้ปุ๋ยฟลอรานิค และเอ็นเทค อัตรา 25 และ 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าวิเคราะห์ดิน ให้ผลผลิตพริกหวานสูงกว่าการใช้ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 100 เปอร์เซ็นต์ของค่าวิเคราะห์ดิน และอัตราส่วนร้อยละของแอมโมเนียมไนโตรเจนในดินเมื่อใช้ปุ๋ยฟลอรานิด และเอ็นเทค มีค่ามากกว่าการใช้ปุ๋ยยูเรีย และแอมโมเนียมซัลเฟต ส่วนอัตราส่วนร้อยละของไนเตรตไนโตรเจนในดิน เมื่อใช้ปุ๋ยยูเรีย และแอมโมเนียมซัลเฟต มีค่าสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเอ็นเทค ฟลอรานิด แอมโมเนียมซัลเฟต+ใบสะเดาแห้งบด และปุ๋ยยูเรีย+ใบสะเดาแห้งบด

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )