ประสิทธิภาพของเชื้อปฏิปักษ์เห็ดนางรมฮังการี (Pleurotus ostreatus) ที่เลี้ยงในสภาพกึ่งปลอดเชื้อ ต่อการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) ของมะเขือเทศ Effectiveness of Antagonistic Hungarian Oyster Mushroom (Pleurotus ostreatus) Cultured on Disinfected Substrates for Controlling Root - Knot Nematode (Meloidogyne incognita) of Tomato

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

พรวิภา โสภณพัฒนะโภคา
สมชาย สุขะกูล
ประภาพร ตั้งกิจโชติ

บทคัดย่อ

           เห็ดนางรมฮังการี (Pleurotus ostreatus) เป็นเห็ดที่มีรายงานเกี่ยวกับการเป็นเชื้อปฏิปักษ์ต่อไส้เดือนฝอยรากปม ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเลี้ยงเชื้อปฏิปักษ์เห็ดนางรมฮังการีในวัสดุธรรมชาติชนิดต่างๆ ที่ผ่านการฆ่าเชื้อวัสดุด้วย ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.5% หรือ carbendazim 100 พีพีเอ็ม เพื่อนำไปควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) จากผลการทดลองพบว่า เชื้อปฏิปักษ์เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในผักตบชวา และ ต้นกล้วย ใช้เวลาเจริญครอบคลุมวัสดุเพียง 7 วัน สำหรับฟางข้าว และขี้เลื่อยไม้ยางพารา ใช้เวลา 14 วัน เมื่อนำเชื้อปฏิปักษ์ที่เตรียมข้างต้นไปทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมโรครากปมในมะเขือเทศพันธุ์สีดาทิพย์ 4 โดยผสมเชื้อปฏิปักษ์ในอัตรา 15% กับดินอบฆ่าเชื้อ พบว่าเชื้อปฏิปักษ์ที่เจริญในก้อนอาหารขี้เลื่อยผสม สามารถยับยั้งการเกิดโรคได้มากที่สุด มีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งการเกิดโรคเท่ากับ 60.48% รองลงมาคือเชื้อปฏิปักษ์ที่เจริญในผักตบชวาที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.5% ยับยั้งการเกิดโรคได้ 46.38% ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า เชื้อปฏิปักษ์เห็ดนางรมฮังการีสามารถเลี้ยงในผักตบชวาที่ผ่านการฆ่าเชื้อเพียงบางส่วน และนำไปใช้ลดการเกิดโรครากปมในมะเขือเทศพันธุ์สีดาทิพย์ 4 ได้

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )