ผลกระทบของของเหลวที่เหลือจากการเลี้ยงยีสต์ต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระดับห้องปฏิบัติการ | Laboratory scale study on repellent and insecticide effects of Liquid Waste from Yeast Cultivation against Brown Planthopper (Nilaparvata lugens (Stal)
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
บทคัดย่อ
การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ W0 ที่มีผลในการกำจัด ขับไล่หรือฆ่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแมลงศัตรูข้าว ภายใต้สภาวะควบคุมในห้องทดลอง ของศูนย์วิจัยและพัฒนากีฏวิทยาสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง ธันวาคม 2554 พบว่าผลิตภัณฑ์ W0 ให้ประสิทธิภาพในการเป็นสารไล่แมลง แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการเป็นสารฆ่าแมลง การทดสอบประสิทธิภาพในการฆ่าแมลงของ W0 ที่ความเข้มข้น 100.0 เปอร์เซ็นต์ (v/v) ด้วยวิธีการหยดลงบนตัว ไม่พบการตายของตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเมื่อเวลาผ่านไป 48 ชั่วโมง สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพในการไล่แมลงด้วยวิธีจุ่มต้นข้าว พบว่า W0 ที่ความเข้มข้น 100.0 เปอร์เซ็นต์ (v/v) พบว่าให้ประสิทธิภาพในการไล่ดีที่สุด โดยมีเปอร์เซ็นต์การไล่ตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เท่ากับ 40.00 และ 20.00 เปอร์เซ็นต์ หลังการปล่อยตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 15 นาที และ 5 ชั่วโมง ตามลำดับ ส่วนการทดสอบโดยวิธีการฉีดพ่น มีประสิทธิภาพในการไล่ตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เท่ากับ 16.67 และ 10.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ หลังการปล่อย 15 นาที และ 3 ชั่วโมง ตามลำดับ