การเปรียบเทียบเสถียรภาพของพันธุ์อ้อยโดยวิธีวิเคราะห์ GGE ระหว่างพันธุ์กับสภาพแวดล้อมในอ้อยปลูกและอ้อยตอที่มีการจัดกลุ่มแปลงทดสอบพันธุ์ Stability Comparison of Sugarcane Varieties by GGE Biplot Method in Plant Cane and Ratoon Cane under Grouping of Varietal Trials

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

กัลยา เข็มเพลีย
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน
อภิวิชญ์ ทรงกระสินธุ์
ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล

บทคัดย่อ

            การเปรียบเทียบความดีเด่นในเสถียรภาพของพันธุ์อ้อยจากการวิเคราะห์ GGE biplot ของ 19 แปลงเปรียบเทียบพันธุ์ ด้วยพันธุ์อ้อย 19 พันธุ์ ประกอบด้วยอ้อยพันธุ์กำแพงแสน ของศูนย์วิจัยและพัฒนาอ้อยและน้ำตาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 15 พันธุ์ และพันธุ์เปรียบเทียบ 4 พันธุ์ ใช้แผนการทดลองแบบ RCBD 4 ซ้ำ นำข้อมูลลักษณะผลผลิตอ้อยและซีซีเอสวิเคราะห์ ทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ และเปรียบเทียบเสถียรภาพโดยพิจารณาค่า GE scores ของพันธุ์ในแต่ละแปลง และจัดกลุ่มแปลงตามภูมิภาค ปริมาณน้ำฝน และชุดดิน ผลการทดลองพบผลผลิตพันธุ์อ้อยส่วนใหญ่มีระดับเสถียรภาพในอ้อยปลูกและอ้อยตอใกล้เคียงกันในซีซีเอส และพบซีซีเอสพันธุ์อ้อยส่วนใหญ่มีระดับเสถียรภาพที่ดีเด่นเฉพาะในอ้อยปลูกหรืออ้อยตอในผลผลิตอ้อย ทั้งนี้พันธุ์อ้อยที่มีเสถียรภาพของผลผลิตอ้อยและซีซีเอสดีเด่น ทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ ได้แก่ พันธุ์กำแพงแสน 01-1-12 กำแพงแสน 94-13 และขอนแก่น 3 ส่วนพันธุ์ LK 92-11 มีเสถียรภาพของผลผลิตอ้อยและซีซีเอสดีเด่น เฉพาะในอ้อยตอ เมื่อจัดกลุ่มแปลงตามภูมิภาค พบความดีเด่นของพันธุ์ของลักษณะผลผลิตอ้อย ของแปลงของภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือมีระดับสูง ในขณะที่ภาคตะวันตกทั้งตอนบนและตอนล่างมีระดับต่ำ ส่วนความดีเด่นของพันธุ์ของลักษณะซีซีเอส ของแปลงของภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือมีระดับสูง ในขณะที่ภาคตะวันออกมีระดับต่ำ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบในอ้อยปลูกและอ้อยตอของแปลงในภูมิภาคต่างๆ พบว่าลักษณะผลผลิตอ้อยมีระดับความดีเด่นของพันธุ์ในอ้อยปลูกสูงกว่าในอ้อยตอในเกือบทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคเหนือ ส่วนใน ซีซีเอสมีระดับความดีเด่นของพันธุ์ที่สูงในอ้อยปลูกหรืออ้อยตอ แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค เมื่อจัดกลุ่มแปลงตามปริมาณน้ำฝน พบว่าในแปลงที่มีปริมาณน้ำฝนสูง (มากกว่า 1,400 มม.) มีแนวโน้มพบพันธุ์ที่มีระดับความดีเด่นของผลผลิตอ้อยที่สูงกว่าในแปลงที่มีปริมาณน้ำฝนต่ำ และยังพบว่าในแปลงที่มีปริมาณน้ำฝนสูง มีความแตกต่างของระดับความดีเด่นของพันธุ์ในอ้อยปลูกและอ้อยตอที่ต่ำ ทั้งในผลผลิตอ้อยและซีซีเอส ในส่วนของการจัดกลุ่มแปลงตามชุดดิน พบว่าระดับความดีเด่นของพันธุ์ของผลผลิตอ้อยในชุดดินส่วนใหญ่ ในอ้อยปลูกสูงกว่าในอ้อยตอ ยกเว้นชุดดินที่ 44, 1 และ 48 ส่วนในซีซีเอสพบพันธุ์อ้อยที่มีระดับความดีเด่นในชุดดินต่างๆ ที่ใกล้เคียงกันในอ้อยปลูกและอ้อยตอ ที่อ้อยปลูกสูงกว่าอ้อยตอ และที่อ้อยตอสูงกว่าอ้อยปลูก เป็นจำนวนใกล้เคียงกัน

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )