การเปรียบเทียบอ้อยพันธุ์กำแพงแสนจากต่างคู่ผสม ต่อปุ๋ยไนโตรเจน | Comparison of Kamphaeng Saen Sugarcane Varieties from Different Crosses to Nitrogen Fertilizer

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ณธีพัฒน์ เหลืองวิไล
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน
อภิวิชญ์ ทรงกระสินธุ์

บทคัดย่อ

            ทำการศึกษาศักยภาพของพันธุ์อ้อยลูกผสม ในอ้อยปลูก เมื่อไม่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ต่อลักษณะผลผลิตอ้อย ซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาล วางแผนการทดลอง แบบ split plot in RCBD โดย main plot เป็นปัจจัยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน และ sub plot เป็นพันธุ์อ้อยลูกผสม จำนวน 18 พันธุ์จาก 6 คู่ผสม คู่ผสมละ 3 พันธุ์ โดยมีคู่ผสมสลับ 2 คู่ และมีคู่ผสมที่มีพันธุ์แม่เดียวกัน 4 คู่ผสม แปลงย่อย มี 2 แถว แถวยาว 8 เมตร ระยะระหว่างแถว 1.5 ม. ผลการทดลอง ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในพันธุ์อ้อยลูกผสมแต่ละพันธุ์ระหว่างที่ไม่ได้ใส่และได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ในลักษณะผลผลิตอ้อย ซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาล แต่ทั้งนี้พบพันธุ์อ้อยลูกผสมที่มีผลผลิตอ้อย ซีซีเอส และผลิตน้ำตาล ในอ้อยที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากกว่าในอ้อยที่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน จำนวน 9, 15 และ 12 พันธุ์ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาคู่ผสม พบว่าพันธุ์อ้อยลูกผสมเกือบทั้งหมดของคู่ผสมระหว่างกำแพงแสน 94-13 กับ กำแพงแสน 01-8-8 และคู่ผสมสลับ มีผลผลิตอ้อย ซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาล เมื่อไม่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากกว่าเมื่อได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ในขณะที่ คู่ผสมระหว่างกำแพงแสน 94-13 กับกำแพงแสน 98-024 และคู่ผสมสลับ มีพันธุ์อ้อยลูกผสมส่วนใหญ่มีผลผลิตอ้อย เมื่อไม่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนต่ำกว่าเมื่อได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน นอกจากนี้ พบว่าคู่ผสมระหว่างพันธุ์กำแพงแสน 94-13 กับ กำแพงแสน 01-8-8 เป็นคู่ผสมเดียว ที่มีผลผลิตอ้อยในอ้อยที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากกว่าที่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน คิดเป็น 108.46 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าเฉลี่ยของผลผลิตอ้อยที่สูงสุดเท่ากับ 20.74 ตันต่อไร่ นอกจากนี้ยังมีผลผลิตน้ำตาล ในอ้อยที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากกว่าที่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน คิดเป็น 120.82 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าเฉลี่ยสูงเท่ากับ 2.43 ตันต่อไร่ เมื่อพิจารณาพันธุ์อ้อยลูกผสมที่มีศักยภาพ พบว่า พันธุ์อ้อยลูกผสมที่มีศักยภาพของผลผลิตอ้อยเมื่อไม่ได้ใส่ปุ๋ย ได้แก่ พันธุ์กำแพงแสน 07-1-3 และกำแพงแสน 07-6-2 มีผลผลิตเท่ากับ 24.17 และ 24.07 ตันต่อไร่ ตามลำดับ โดยพันธุ์กำแพงแสน 07-10-6 มีผลผลิตอ้อยเมื่อไม่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากกว่าที่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน คิดเป็น 112.56 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพันธุ์อ้อยที่มีศักยภาพของซีซีเอสเมื่อไม่ได้ใส่ไนโตรเจน ได้แก่ พันธุ์กำแพงแสน 07-17-3 กำแพงแสน 07-21-4 และกำแพงแสน 07-6-2 มีซีซีเอสที่สูงเท่ากับ 13.24, 13.01 และ 12.96 ตามลำดับ โดยพันธุ์กำแพงแสน 07-1-1 และกำแพงแสน 07-17-8 มีซีซีเอสเมื่อไม่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากกว่าที่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน คิดเป็น 127.97 และ 124.27 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )