การศึกษาความดีเด่นของพันธุ์อ้อยลูกผสมในลักษณะซีซีเอส | Study of Heterosis in CCS of Sugarcane Hybrids

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ประทุมมา วงษ์วิลา
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน
อภิวิชย์ ทรงกระสินธุ์

บทคัดย่อ

            การศึกษา heterosis และ heterobeltiosis ในอ้อยปลูกของพันธุ์อ้อยลูกผสมจำนวน 12 คู่ผสม คู่ผสมละ 10 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 3 ซ้ำ แต่ละแปลงย่อยมี 1 แถว ยาว 1.5 เมตร มี 3 กอ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอ้อยและน้ำตาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม จากการทดลองพบว่า เปอร์เซ็นต์เฉลี่ยของพันธุ์อ้อยลูกผสมทั้งหมดที่มีค่า heterosis และค่า heterobeltiosis ทางบวกเท่ากับ 57.5 และ 43.3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยของพันธุ์อ้อยลูกผสมทั้งหมดมีค่า heterosis และค่าheterobeltiosis ทางลบเท่ากับ 31.7 และ 45.8 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาพันธุ์แม่และพ่อต่อการมี heterosis และ heterobeltiosis ในพันธุ์อ้อยลูกผสม พบว่าพันธุ์แม่ที่ให้พันธุ์อ้อยลูกผสมที่มีค่า heterosis และค่า heterobeltiosis ทางบวก เป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูง ได้แก่ พันธุ์กำแพงแสน 00-92 เท่ากับ 80.0 เปอร์เซ็นต์  และพันธุ์ มก.60-1 เท่ากับ 65.0 เปอร์เซ็นต์  และพบว่าพันธุ์ K 84-200 เป็นพันธุ์พ่อที่ให้พันธุ์อ้อยลูกผสมที่มีค่า heterosis และ heterobeltiosis ทางบวก เป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงเท่ากับ 90.0 และ 76.7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่พันธุ์กำแพงแสน 94-13 มีเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำเท่ากับ 25.0 และ 5.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าคู่ผสมที่มีพันธุ์แม่หรือพันธุ์พ่อต่างกัน ส่วนใหญ่ให้ค่าเฉลี่ยของพันธุ์อ้อยลูกผสมที่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ยกเว้นพันธุ์แม่กำแพงแสน 01-41-5 และพันธุ์พ่อ มก.60-1

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )