พิชญ์ศิณี แก้ววงศ์หาญ
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140
ชัยสิทธิ์ ทองจู
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140 Department of Soil Science, Faculty of Agriculture at Kamphaeng Saen, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus, Nakorn Pathom, 73140, Thailand.
จุฑามาศ ร่มแก้ว
ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม 73140
ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140 Department of Soil Science, Faculty of Agriculture at Kamphaeng Saen, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus, Nakorn Pathom, 73140, Thailand.
ชาลินี คงสุด
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140 Department of Soil Science, Faculty of Agriculture at Kamphaeng Saen, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus, Nakorn Pathom, 73140, Thailand.
ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140 Department of Soil Science, Faculty of Agriculture at Kamphaeng Saen, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus, Nakorn Pathom, 73140, Thailand.
ธนศมณท์ กุลการัณย์เลิศ
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140 Department of Soil Science, Faculty of Agriculture at Kamphaeng Saen, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus, Nakorn Pathom, 73140, Thailand.
อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140 Department of Soil Science, Faculty of Agriculture at Kamphaeng Saen, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus, Nakorn Pathom, 73140, Thailand.
รุจิกร ศิริแม้นม่วง
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140 Department of Soil Science, Faculty of Agriculture at Kamphaeng Saen, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus, Nakorn Pathom, 73140, Thailand.
ศิริสุดา บุตรเพช
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140 Department of Soil Science, Faculty of Agriculture at Kamphaeng Saen, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus, Nakorn Pathom, 73140, Thailand.
บทคัดย่อ
ศึกษาผลของการจัดการปุ๋ยเคมีร่วมกับสารปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 (ปีที่ 2) โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ผลการทดลอง พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 12.01-0-13.41 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 163 กก./ไร่ มีผลให้ความสูงต้น จำนวนกิ่งต่อต้น ผลผลิตหัวสด และน้ำหนักเฉลี่ยต่อหัวของมันสำปะหลังโดยภาพรวมมากที่สุด ไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับซีโอไลต์อัตรา 50 กก./ไร่ นอกจากนี้ การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 12.01-0-13.41 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 163 กก./ไร่ ยังมีผลให้ปริมาณแป้งต่อพื้นที่ ปริมาณความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่สะสมในผลผลิตหัวสดของมันสำปะหลังมากที่สุด ไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับซีโอไลต์อัตรา 50 กก./ไร่ และการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับพัมมิซอัตรา 50 กก./ไร่ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของมันสำปะหลังที่ปลูกในปีที่ 1 และปีที่ 2 พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 12.01-0-13.41 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 163 กก./ไร่ มีผลทำให้น้ำหนักเฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตหัวสดเพิ่มขึ้นเมื่อใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน และการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับซีโอไลต์อัตรา 50 กก./ไร่ ส่วนการใส่ปุ๋ยเคมี 75% ของอัตราตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับพัมมิซอัตรา 50 กก./ไร่ และการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 9.02-0-10.06 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 122 กก./ไร่ มีผลให้เปอร์เซ็นต์แป้งเพิ่มขึ้น และผลผลิตหัวสดลดลงในตำรับควบคุม (control)