การขยายพันธุ์มันพื้นบ้านสกุล Dioscorea เพื่อเป็นแหล่งอาหารทดแทน | Propagation of Dioscorea spp. for alternative food resources

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

รงรอง หอมหวล
มณฑา วงศ์มณีโรจน์
สุลักษณ์ แจ่มจำรัส
สมนึก พรมแดง
วุฒิชัย ทองดอนแอ
ประเทือง ดอนสมไพร
รัตนา เอการัมย์
สนธิชัย จันทร์เปรม

บทคัดย่อ

            ศึกษาการขยายพันธุ์มันเลือดโดยวิธีปักชำ พบว่าการจุ่มเถามันเลือดในสารเร่งราก IBA ความเข้มข้น 2,000 มก./ล. ให้เปอร์เซ็นต์รอดชีวิตมากที่สุด 67.50% โดยลำต้น และ ใบเป็นสีเขียว แตกยอดใหม่บริเวณข้อบน และมีรากงอกบริเวณข้อล่าง ส่วนการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้น พบว่า การฟอกฆ่าเชื้อข้อของมันเลือด และมันจาวมะพร้าว มีเปอร์เซ็นต์การปลอดเชื้อ 66.67% และ 91.67% ตามลำดับ มักพบสารสีน้ำตาลเกิดขึ้นบริเวณรอยตัดของชิ้นส่วนของมันทั้ง 2 ชนิด จึงเติมสาร citric acid ที่ความเข้มข้น 0.5 ก./ล. เพื่อยับยั้งสารสีน้ำตาลบริเวณรอยตัดของชิ้นส่วนแต่กลับมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของยอดร่วมด้วยโดยเฉพาะในมันจาวมะพร้าว  การเพิ่มปริมาณต้นโดยการเพาะเลี้ยงในอาหาร MS ที่มี BA ความเข้มข้น 1.0 มก./ล. พบว่า มันจาวมะพร้าวแตกยอดเพิ่มเฉลี่ย 3.50 ต้น มันเลือดแตกยอดเฉลี่ย 1.60 ต้น ตามลำดับ ชักนำให้ต้นมันทั้ง 2 ชนิดออกรากได้ในอาหาร MS ที่เติม NAA 0.2 มก./ล. ลักษณะรากแตกแขนงมากกว่า มีรากขนอ่อน ลำต้นสูง และใบมีขนาดใหญ่กว่าต้นที่ชักนำในอาหารสูตร MS ที่ปราศจาก NAA และที่เติม NAA 0.1 มก./ล.

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )