การศึกษาเพื่อหาลักษณะของทางออกกากที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมันรำข้าวโดยใช้เครื่องสกัดน้ำมันแบบสกรูอัด | A Study to Determine an Optimal Die Configuration for Rice Bran Oil Extraction Using a Screw Press Machine

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

เชาว์ อินทร์ประสิทธิ์
เบญจพร ทุมโคตร

บทคัดย่อ

             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทดสอบลักษณะของทางออกกากที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมันโดยใช้เครื่องสกัดน้ำมันแบบสกรูอัด ชนิด Straight screw shaft ที่ความเร็วรอบ 25 รอบต่อนาที และลักษณะของทางออกกาก 5 แบบ โดยใช้รำข้าวอบแห้งเป็นวัตถุดิบในการทดสอบ ศึกษาลักษณะของทางออกกากที่มีผลต่ออัตราการป้อนรำข้าว อัตราส่วนการบีบอัดน้ำมัน เปอร์เซ็นต์น้ำมันที่เหลืออยู่ในกาก เปอร์เซ็นต์น้ำมันที่สกัดได้ ประสิทธิภาพของการสกัด และพลังงานกลจำเพาะ เพื่อเลือกสภาวะดีที่สุดในการสกัดน้ำมันโดยพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่เหลืออยู่ในกากน้อยที่สุดจากผลการทดสอบเมื่อพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่เหลืออยู่ในกากน้อยที่สุด พบว่าสภาวะที่ดีที่สุดของเครื่องสกัดน้ำมันนี้คือลักษณะของทางออกกากที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรู 1.5 มิลลิเมตรความยาวรู 22 มิลลิเมตร จำนวน 4 รู มีค่าคงที่ของ Die เท่ากับ 0.023 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ซึ่งมีอัตราการป้อนรำข้าว 10.72 0.29 กรัมต่อนาที อัตราส่วนการบีบอัดน้ำมันเป็น 6.55 0.27 มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่เหลืออยู่ในกาก 11.01 0.70 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์น้ำมันที่สกัดได้ 12.56 0.70 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพของการสกัด 53.74 2.98 เปอร์เซ็นต์ และพลังงานกลจำเพาะ 4.33 0.43 กิโลวัตต์–ชั่วโมงต่อลิตร

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering )