การขยายพันธุ์กล้วยไม้ป่ากุหลาบกระเป๋าปิดในสภาพปลอดเชื้อ เพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนในจังหวัดร้อยเอ็ด | In Vitro Mass Propagation of Wild Orchid, Aerides odorata Lour. for Sustainable Conservation at Roi Et Province

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

จตุพร หงส์ทองคำ
สุฑารัตน์ คนขยัน
สุรชัย รัตนสุข
รชยา พรมวงศ์

บทคัดย่อ

             กล้วยไม้ป่ากุหลาบกระเป๋าปิด (Aerides odorata Lour.) เป็นกล้วยไม้ที่นิยมนำออกมาจากป่าเพื่อปลูกเป็นไม้ประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือน ทำให้กล้วยไม้ชนิดนี้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากธรรมชาติ การเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อจึงเป็นวิธีที่สามารถขยายพันธุ์กล้วยไม้ให้ได้ต้นเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้อย่างยั่งยืนต่อไป วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้คือศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดและความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการเจริญเป็นต้นของโปรโตคอร์มกล้วยไม้ป่ากุหลาบกระเป๋าปิด ผลการศึกษาพบว่า อาหารที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดกล้วยไม้คืออาหารสูตร NDM ดัดแปลงที่เติมน้ำตาลซูโครส 1% (w/v) และน้ำต้มมันฝรั่ง 1% (w/v) โดยเมล็ดกล้วยไม้มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงสุดคือ 100% ในการศึกษาความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการเจริญเป็นต้นของโปรโตคอร์ม พบว่า อาหาร NDM ที่เติม NAA 1 มก./ล. ร่วมกับ Kn 3 มก./ล. สามารถชักนำให้ โปรโตคอร์มเกิดยอดเฉลี่ยสูงสุดคือ 4.73 ยอดต่อโปรโตคอร์ม ต้นอ่อนมีความสูงเฉลี่ย 5.67 มม. และมีจำนวนรากเฉลี่ย 3.80 รากต่อต้น เมื่อนำต้นกล้วยไม้ป่ากุหลาบกระเป๋าปิดที่เจริญเต็มที่ออกปลูกในสภาพธรรมชาติ พบว่าต้นกล้วยไม้สามารถเจริญได้ตามปกติโดยมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต 100% ภายหลังจากปลูกเลี้ยงเป็นเวลา 4 สัปดาห์

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )