ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน | The Effect of a Dietary Behavior Promotion Program in the Fourth through Sixth Grade Students with Overnutrition

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

อนาวิน ภัทรภาคินวรกุล

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบ one group pre-post test เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 อายุ 10 – 12 ปี ที่มีภาวะโภชนาการเกิน โรงเรียนท่าแร่วิทยา อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 1 กลุ่ม จำนวน 40 คน ระยะเวลาในการทดลอง 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ paired t-test เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการทดลอง


            ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 51.5 อาชีพของบิดาและมารดาคือ รับจ้าง ร้อยละ 60.0 และ ร้อยละ 45.0 ตามลำดับ รายได้ครอบครัวต่ำกว่า 3,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 75.0 ระดับการศึกษาของบิดาและมารดา คือ ชั้นประถมศึกษาร้อยละ 75.0 และร้อยละ 62.5 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมโดยรวม ด้านเผชิญอันตรายและด้านเผชิญปัญหาของนักเรียนก่อนการทดลองและหลังการทดลอง พบว่า หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เนื่องจากได้รับโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ทำให้พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนเหมาะสมมากขึ้น

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพและกีฬา (Science and Health Science & Sport)