การศึกษาความคล่องแคล่วว่องไวเชิงปฏิกิริยา ความเร็วในการวิ่งเปลี่ยนทิศทาง และ สมรรถภาพทางกายที่บ่งชี้ถึงความสามารถของนักบาสเกตบอล The Study of Reactive Agility, Change of Direction Speed and Physical Fitness as Indicator of Performance in Basketball Players

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ศศิวิมล เอกวิริยะกุล
นิรอมลี มะกาเจ
ถวิชัยย์ ขาวถิ่น
เพ็ญนิภา พูลสวัสดิ์
สุกัญญา เจริญวัฒนะ

บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคล่องแคล่วว่องไวเชิงปฏิกิริยา ความเร็วในการวิ่งเปลี่ยนทิศทางและสมรรถภาพทางกายที่บ่งชี้ถึงความสามารถของนักกีฬาบาสเกตบอล โดยจำแนกระหว่างระดับการแข่งขันและตำแหน่งการเล่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักบาสเกตบอลชาย จำนวน 24 คน แบ่งตามระดับการแข่งขันออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 12 คน คือ กลุ่มนักกีฬาอาชีพและกลุ่มนักกีฬาสมัครเล่น โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดต้องทำการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวเชิงปฏิกิริยา ความเร็วในการวิ่งเปลี่ยนทิศทางและสมรรถภาพทางกายที่บ่งชี้ถึงความสามารถของนักกีฬาบาสเกตบอลที่ผู้วิจัยได้คัดสรร ประกอบด้วยความเร็วในการวิ่งทางตรงที่ระยะ 10 เมตร และ 20 เมตร ความเร็วเท้า เวลาสัมผัสพื้นในแนวราบ เวลาสัมผัสพื้นในแนวดิ่ง พลังกล้ามเนื้อขา และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว นำผลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ t-test independent เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการแข่งขัน ใช้สถิติ one way ANOVA เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างจากการจำแนกตำแหน่ง และใช้สถิติ Pearson product moment correlation coefficient เพื่อหาความสัมพันธ์ของความคล่องแคล่วว่องไวเชิงปฏิกิริยาและ ความเร็วในการวิ่งเปลี่ยนทิศทาง กับสมรรถภาพทางกายที่บ่งชี้ถึงความสามารถของนักกีฬากำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


              ผลการศึกษาพบว่า นักกีฬาบาสเกตบอลระดับอาชีพมีความเร็วที่ดีกว่านักกีฬาระดับสมัครเล่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งความเร็วที่ระยะ 10 เมตร และ 20 เมตร เมื่อจำแนกตามตำแหน่งการเล่น พบว่า ตำแหน่งปีกและตำแหน่งการ์ดมีความเร็วในการเปลี่ยนทิศทางที่ดีกว่าตำแหน่งเซ็นเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตำแหน่งปีกมีความเร็วเท้าที่ดีกว่าตำแหน่งการ์ดและตำแหน่งเซ็นเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และตำแหน่งการ์ดมีพลังกล้ามเนื้อขาที่ดีกว่าตำแหน่งปีกและเซ็นเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ นอกจากนั้น พบว่า ความคล่องแคล่วว่องไวเชิงปฏิกิริยามีความสัมพันธ์กับ ความเร็วในการวิ่งทางตรงที่ระยะ 20 เมตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความเร็วในการเปลี่ยนทิศทางมีความสัมพันธ์กับความเร็วในการวิ่งทางตรงที่ระยะ 20 เมตรและพลังกล้ามเนื้อขาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพและกีฬา (Science and Health Science & Sport)