การตรวจสอบศักยภาพของอ้อยพันธุ์กำแพงแสนต่อการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอ้อยปลูก| Potential Evaluation of Kamphaeng Saen Sugarcane Varieties to Nitrogen Fertilizer Application in Plant Cane
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
บทคัดย่อ
The purpose of this experiment is to evaluate Kamphaeng Saen sugarcane varieties having high cane yield and quality with no or low rate of nitrogen fertilizer. Effect of different consecutive amount of nitrogen fertilizer to cane yield CCS and sugar yield were also evaluated. Evaluation of 6 Kamphaeng Saen sugarcane varieties with Khon Kaen 3 as checked variety were used. The experiment was conducted at Cane and Sugar Research and Development Center, Kasetsart University, Kamphaeng Saen campus, Nakhon Pathom province. Split plot in RCBD with 3 replications was applied with three rates of nitrogen fertilizer (0, 50 and 100 kg per rai) as the main plot and 7 sugarcane varieties as sub plot. Data of cane yield (CCS) and sugar yield were collected. The results revealed that Kamphaeng Saen 01-12 sugarcane variety had high cane yield, CCS and sugar yield with no nitrogen fertilizer which was not significantly different with medium rate (50 kg per rai) and high rate (100 kg per rai) of nitrogen fertilizer. While Kamphaeng Saen 01-29 sugarcane variety also had high cane yield with no nitrogen fertilizer, but was significantly different with medium rate and high rate of nitrogen fertilizer. Moreover, Khon Kaen 3 was the only sugarcane variety that had significantly high CCS with high rate of nitrogen fertilizer compared to no nitrogen fertilizer application, while Kamphaeng Saen sugarcane varieties had non-significant difference. Comparing with the first 50 kg of nitrogen fertilizer (between 50 kg per rai and no nitrogen fertilizer) and second 50 kg of nitrogen fertilizer (between 100 kg per rai and 50 kg per rai), both amount of nitrogen fertilizer affected the increase of cane yield. Nevertheless, the first 50 kg nitrogen fertilizer had significantly higher cane yield the second 50 kg nitrogen fertilizer. On the other hand, the first 50 kg nitrogen fertilizer affected the decrease of CCS, while the second 50 kg nitrogen fertilizer affected the increase of CCS. These results were not significantly different between the first and second 50 kg nitrogen fertilizer in sugar yield.
บทคัดย่อ
การทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบพันธุ์อ้อยกำแพงแสนที่มีผลผลิตอ้อยและคุณภาพสูงเมื่อไม่มีการ
ใส่ปุ๋ยหรือใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราต่ำ และตรวจสอบผลของปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนต่างกันต่อลักษณะผลผลิตอ้อย ค่าซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาล ได้ทดสอบในอ้อยพันธุ์กำแพงแสน 6 พันธุ์ โดยมีพันธุ์ขอนแก่น 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบในการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนอัตราต่างๆ ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอ้อยและน้ำตาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม วางแผนการทดลองแบบ split plot in RCBD จำนวน 3 ซ้ำ โดยมีอัตราปุ๋ย (0, 50 และ 100 กก.ต่อไร่) เป็น main plot และพันธุ์อ้อยเป็น sub plot บันทึกข้อมูลผลผลิตอ้อย ค่าซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาล ผลการทดลองพบว่า พันธุ์กำแพงแสน 01-12 เป็นพันธุ์อ้อยที่มีผลผลิต ค่าซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาลสูงเมื่อไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน โดยไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับเมื่อใส่ปุ๋ยอัตราปานกลาง (50 กก.ต่อไร่) และอัตราสูง (100 กก.ต่อไร่) ส่วนพันธุ์กำแพงแสน 01-29 ถึงแม้เป็นพันธุ์ที่มีผลผลิตอ้อยสูงเมื่อไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน แต่ก็มีผลผลิตอ้อยสูงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อใส่ปุ๋ยอัตรา 50 และ 100 กก.ต่อไร่ นอกจากนี้พบว่า พันธุ์ขอนแก่น 3 เป็นพันธุ์อ้อยเพียงพันธุ์เดียวที่มีซีซีเอสสูงเมื่อได้รับปุ๋ยไนโตรเจนอัตราสูง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับเมื่อไม่ได้รับปุ๋ย ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติในพันธุ์อ้อยกำแพงแสน เมื่อเปรียบเทียบผลของปุ๋ยไนโตรเจนต่อผลผลิตอ้อย ซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาล พบว่า เมื่อได้รับปุ๋ยไนโตรเจน 50 กก. ส่วนที่หนึ่ง (เปรียบเทียบระหว่างเมื่อใส่ปุ๋ย 50 กก.ต่อไร่กับเมื่อไม่ใส่ปุ๋ย) และเมื่อได้รับปุ๋ยไนโตรเจน 50 กก. ส่วนที่สอง (เปรียบเทียบระหว่างเมื่อใส่ปุ๋ย 100 กก.ต่อไร่กับเมื่อใส่ปุ๋ย 50 กก.ต่อไร่) ทำให้ผลผลิตอ้อยสูงขึ้น ทั้งนี้ปุ๋ยไนโตรเจน 50 กก. ส่วนที่หนึ่ง ทำให้ผลผลิตอ้อยสูงขึ้น มากกว่าปุ๋ยไนโตรเจน 50 กก. ของส่วนที่สองแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ปุ๋ยไนโตรเจน 50 กก.ส่วนที่หนึ่งทำให้ค่าซีซีเอสลดลง แต่ปุ๋ยไนโตรเจน 50 กก. ส่วนที่สอง มีค่าซีซีเอสสูงขึ้น ทำให้ผลผลิตน้ำตาลของเมื่อได้รับปุ๋ยไนโตรเจน 50 กก. ส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
##plugins.generic.usageStats.downloads##
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
เอกสารอ้างอิง
กันตินันท์ วันทอง. (2559). การเปรียบเทียบอ้อยพันธุ์กำแพงแสนจากต่างคู่ผสมเมื่อไม่ให้ปุ๋ยไนโตรเจนในอ้อยตอ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ชูศักดิ์ จอมพุก. (2555). สถิติ: การวางแผนการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านพืชด้วย “R” (พิมพ์ครั้งที่ 2). (น. 336). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณธีพัฒน์ เหลืองวิไล. (2557). การเปรียบเทียบพันธุ์อ้อยกำแพงแสนจากต่างคู่ผสมต่อปุ๋ยไนโตรเจน. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ประพัทธ์ เครือวิเสน. (2559). การเปรียบเทียบอ้อยพันธุ์กำแพงแสนจากต่างคู่ผสมระหว่างอ้อยปลูกและอ้อยตอที่ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล. (2561). รายงานการผลิต 2560/2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 สืบค้นจาก www.ocsb.go.th.
Gourevitch, J. D., Keeler, B. L., & Ricketts, T. H. (2018). Determining socially optimal rates of nitrogen fertilizer application. Agriculture, Ecosystems & Environment, 254, 292-299.
Mohan-Rao, N.V., & Narasimham, R.L. (1952). Some aspects of nitrogen nutrition of sugarcane in ANDHR. India: Anakapalle.
Muchow, R. C., Robertson, M. J., Wood, A. W., & Keating, B. A. (1996). Effect of nitrogen on the time-course of sucrose accumulation in sugarcane. Field Crops Research, 47(2-3), 143-153.
Sime, M. (2013). Effect of different nitrogen rates and time of application in improving yield and quality of seed cane of sugarcane (Saccharum spp. L.) variety B41/227. International Journal of Scientific and Research Publications, 3(1), 3-6.
Sreewarome, A., Saensupo, S., Prammanee, P., & Weerathworn, P. (2007). Effect of rate and split application of nitrogen on agronomic characteristics, cane yield and juice quality. In XXVI Congress, International Society of Sugar Cane Technologists, ICC, Durban, South Africa, 29 July-2 August, 2007 (pp. 465-469). International Society Sugar Cane Technolo
gists (ISSCT).
Venables, W.N., Smith, D.M., & The R Devlopment Core Team. (2009). An Introduction to R. Retrieved May 5, 2020, from http://cran.r~pro ject.org/doc/manuals/R-into.pdf.